แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - siritidaphon

หน้า: [1] 2 3 ... 146
1
บริการทำความสะอาด: ทำห้องนั่งเล่นให้สะอาดตา เป็นที่น่าประทับใจ

การดูแลรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งภายในอาคารสำนักงานถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะความสะอาดเป็นสิ่งแรกที่แขกจะได้สัมผัสและทำให้เกิดความประทับใจได้หลายคนที่อาจจะเคยไปในสำนักงานต่างๆ ก็มักจะคุ้นเคยกับบรรยากาศภายในห้องรับแขกที่จะต้องดูดีและสะอาดตาอยู่เสมอ เพราะห้องรับแขก เป็นสถานที่ที่ใช้รองรับแขกที่จะเดินทางมาในสถานทีนั้นๆ แน่นอนว่า ความสะอาดภายในห้องรับรองแขก ก็ส่งผลต่อองค์กรนั้นๆ

ดังนั้น ห้องรับแขกจะต้องมีความสะอาดอยู่ตลอดเวลา เพราะถือว่าเป็นส่วนหน้าของสถานที่นั้นๆดังนั้น การจัดและตกแต่งห้องรับแขกควรจัดให้สวยงามและดูสะดวกสบายเพื่อให้แขกที่มาเยือนรู้สึกประทับใจ

สำหรับวันนี้ทางเราจะมาพูดถึงการทำความสะอาดห้องรับแขกให้ดูสะอาด สบายตาและช่วยสร้างความประทับใจแรกแก่ผู้มาเยือน สำหรับห้องรับแขกนั้น ภายในห้องจะมีด้วยกันหลายส่วน เพราะฉะนั้นภายในห้องรับแขกเราก็จะต้องทำให้ทุกส่วนดูเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย

สำหรับการทำความสะอาดห้องรับแขกนั้น ในส่วนแรกที่แขกของเราจะเข้ามาสัมผัสเลยนั่นก็ คือ บริเวณพรม เพราะเมื่อแขกเดินเข้าสู่ห้องรับแขก ซึ่งก็จะมีเศษดินหรือฝุ่นผงต่างๆที่ติดอยู่บริเวณรองเท้าเข้ามาสู่ห้องรับแขก ดังนั้นการมีพรมเช็ดเท้าวางไว้สักผืนที่อยู่หน้าประตู จึงเป็นตัวช่วยที่ดีมากทีเดียว แต่ทั้งนี้เนื่องจากพรมเช็ดเท้านั้นมีมากมายหลายแบบ จึงควรเลือกแบบที่สามารถเช็ดคราบสกปรกออกจากฝ่าเท้าได้อย่างหมดจดมากที่สุด และที่สำคัญสีสันของพรมเช็ดเท้าก็ควรเข้ากับสีสันของห้องรับแขกด้วย

ดังนั้น พรมเช็ดเท้าจะต้องมีการทำความสะอาดบ่อยกว่าจุดอื่น เพราะเป็นส่วนที่สกปรกได้ง่าย เพราะฉะนั้นวิธีการทำความสะอาดพรมเราก็สามารถ ใช้ลูกกลิ้งทำความสะอาด หรือ เครื่องดูดฝุ่น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆเหล่านี้ออกได้ แต่ก็ควรทำความสะอาดเป็นประจำทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้

จุดต่อมาของห้องรับแขกที่เราจะต้องทำความสะอาดอยู่เสมอนั่นก็ คือ โซฟาหรือโต๊ะเก้าอี้ที่ใช้รองรับแขก  เพราะเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในห้องรับแขกนั่น มักจะถูกจัดอยู่ชิดกับผนังห้อง ก็อาจจะทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นอย่างหนาแน่น ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มภาระในการทำความสะอาดให้กับเหล่าแม่บ้านได้มากทีเดียว

ดังนั้น ในจุดนี้ก็ควรได้รับการทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ภายในห้องรับแขกของคุณ มีความสะอาดอยู่เสมอ รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น โคมไฟ แม่บ้านควรทำความสะอาดโคมไฟอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดฝุ่นออกให้หมด ซึ่งหากปล่อยไว้นานกว่านั้น ก็อาจจะทำให้โคมไฟกลายเป็นแหล่งสะสมฝุ่นชั้นยอดเลย ดังนั้น แม่บ้านควรทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นและช่วยป้องกันไม่ไห้เกิดเชื้อโรคสะสมด้วย เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ห้องรองรับแขกของคุณดูสะอาดตา และสร้างความประทับใจแก่แขกได้แล้ว

เห็นมั้ยว่า วิธีการทำความสะอาดห้องรับแขกนั้น สามารถทำได้ง่ายมาก เพียงหมั่นทำความสะอาดก็จะช่วยลดการสะสมของฝุ่นและเชื้อโรคได้ แถมไม่ต้องเปลืองแรงที่จะต้องทำความสะอาดครั้งใหญ่เลย นอกจากจะทำให้ห้องรับแขกที่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยทำให้สุขภาพของผู้มาเยือนดีด้วย

เรา อยากให้ทุกคนได้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่มีความสะอาด เพื่อช่วยให้เราได้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากเชื้อโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทางเรามีบริการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ทุกคนได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด มีบรรยากาศที่ดี เพราะเราห่วงใยในความปลอดภัยของลูกค้า เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในทุกสภาพแวดล้อม

ทั้งนี้ เรายังได้มีการคัดสรรสิ่วที่จะนำมาใช้ในการทำความสะอาด เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆมากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงของการสัมผัสเชื้อโรค ยิ่งในสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เรายิ่งต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดของลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้ลูกค้าของเรามีความปลอดภัย และได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อโรค และสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้

2
สร้างรายได้ จากการขายผัดกะเพราหมูกรอบเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบด้วยรสชาติที่จัดจ้าน หอมกลิ่นใบกะเพรา เมนูอาหารตามสั่งยอดฮิตของคนไทย

เมื่อพูดถึงอาหารริมทางของไทยผัดกะเพราหมูกรอบเป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยมและน่าพึงพอใจที่สุดที่คุณสามารถสั่งได้ในร้านอาหารท้องถิ่น อาหารจานนี้ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติที่เข้มข้น เนื้อสัมผัสที่กรอบและรสชาติที่ลงตัวของความเผ็ดร้อนและกลิ่นหอม กะเพราหมูกรอบเป็นเมนูอาหารตามสั่งยอดนิยมของไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยรสชาติที่จัดจ้าน หอมกลิ่นใบกะเพราและความกรุบกรอบของหมูกรอบ

ทำให้เป็นเมนูที่ใครหลายคนชื่นชอบทำให้อาหารจานนี้เป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับผู้ชื่นชอบอาหารไทย

ผัดกะเพราหมูกรอบ คืออะไร ?
ผัดกะเพราหมูกรอบ ประกอบด้วยหมูสามชั้นทอดกรอบผัดกับกะเพรา กระเทียม พริกสด และซอสรสเข้มข้นที่ทำจากซอสหอยนางรม ซอสถั่วเหลือง และน้ำปลา มักเสิร์ฟพร้อมข้าวหอมมะลินึ่งและไข่ดาวเพื่อเพิ่มความอร่อย

ทำไมมันถึงเป็นที่นิยม?
รสชาติที่เข้มข้น – การผสมผสานกันระหว่างหมูสามชั้นกรอบ โหระพาหอม และพริกเผ็ดสร้างรสชาติอูมามิที่น่ารับประทาน
รวดเร็วและง่ายดาย – เป็นอาหารจานง่ายๆ แต่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปรุงได้ภายในไม่กี่นาที เหมาะสำหรับวิถีชีวิตที่เร่งรีบ
ปรับแต่งได้ – คุณสามารถปรับระดับความเผ็ด เพิ่มผัก หรือเปลี่ยนหมูกรอบเป็นไก่ เนื้อวัว หรือเต้าหู้ได้
ทานคู่กับข้าวสวย – รสชาติที่เข้มข้นของเมนูนี้เข้ากันได้ดีกับข้าวสวย ทำให้เป็นมื้ออาหารที่ครบถ้วนและอิ่มอร่อย

เคล็ดลับความอร่อย
หมูกรอบควรเลือกที่สดใหม่และกรอบ
ใบกะเพราควรเลือกใบที่สดใหม่และมีกลิ่นหอม
ปรุงรสให้ได้รสชาติที่ชอบ สามารถเพิ่มหรือลดปริมาณเครื่องปรุงได้ตามต้องการ
บางคนอาจเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ถั่วฝักยาว หรือข้าวโพดอ่อน เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการ
กะเพราหมูกรอบให้พลังงานสูง เนื่องจากมีส่วนประกอบของหมูกรอบซึ่งมีไขมันสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีคุณค่าทางโภชนาการจากใบกะเพราที่มีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

ข้อควรระวัง
ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากมีไขมันสูง
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังในการรับประทาน
กะเพราหมูกรอบเป็นเมนูที่ทำได้ง่ายและอร่อย หากใครที่ชื่นชอบอาหารรสจัดจ้าน ไม่ควรพลาดเมนูนี้

วิธีการเพลิดเพลินไปกับมัน
หากต้องการสัมผัสรสชาติที่แท้จริง ให้สั่งแบบเผ็ดเพื่อสัมผัสความเผ็ดร้อนจากพริกไทยไทยสดๆ
จับคู่กับไข่ดาว กรอบๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้น
แตงกวาสดหั่นเป็นชิ้นเคียงมาช่วยปรับสมดุลความร้อนและเพิ่มความสดชื่นให้กับจานอาหาร

ผัดกะเพราหมูกรอบเป็นเมนูที่ใครๆ ก็ต้องลองชิม ไม่ว่าคุณจะไปกินที่ร้านข้างทางหรือทำเองที่บ้าน รสชาติที่จัดจ้านและเนื้อหมูกรอบจะทำให้คุณอยากกลับมากินอีกแน่นอน หากคุณยังไม่เคยลอง รับรองว่าคุณต้องติดใจ

3
คอนโดใหม่ 2025: ดีคอนโด คลาม (dcondo calm)
เริ่มต้น 1.59 ลบ.

ดีคอนโด คลาม (dcondo calm)
พบกับ ดีคอนโด คลาม คอนโดโครงการใหม่จาก แสนสิริ คอนโดใจกลางรามคำแหง กับคอนเซ็ปต์ "คำรามความสุขจากข้างใน... ให้ดังกลบความวุ่นวายภายนอก" คอนโดที่โอบกอดคุณด้วยธรรมชาติ กับการพักผ่อนที่สมบูรณ์แบบ ชาร์จพลังกาย ฟื้นพลังใจ บนทำเลที่สะดวกสบาย ใกล้ MRT สายสีส้ม และสายสีเหลือง

 รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ            ดีคอนโด คลาม (dcondo calm)
 เจ้าของโครงการ       แสนสิริ
 แบรนด์ย่อย             ดีคอนโด
 ราคา                      เริ่มต้น 1.59 ลบ.

 ราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.     โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ลักษณะทำเล            คอนโดในเมือง
 ความสูงคอนโด          โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ลักษณะกรรมสิทธิ์       โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ประเภทห้องที่มี          โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ขนาดห้องที่มี             โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 เนื้อที่ทั้งหมด            โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนตึก                โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนชั้น                 โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนห้อง               โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ที่จอดรถทั้งหมด         โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ค่าบำรุงส่วนกลาง        โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 สาธารณูปโภค           โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ

 สถานที่ใกล้เคียง
 โซน        รามคำแหง, บางกะปิ, เสรีไท
 ที่ตั้ง           ซอยรามคำแหง 40 ถนนหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

 ขนส่งสาธารณะ

รถไฟฟ้า:            ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สถานี(ตลิ่งชัน - สุวินทวงศ์)(รามคำแหง), ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง, สถานี(ลาดพร้าว - สำโรง)(แยกลำสาลี)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
ศูนย์การค้า/ไลฟ์สไตล์
1.เดอะ มอลล์ บางกะปิ 2.1 กม.
2.ราชมังคลากีฬาสถาน 2.4 กม.
3.เดอะ มอลล์ รามคำแหง 4.2 กม.

สถานศึกษา
1.เอแบค หัวหมาก 1.8 กม.
2.มหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 กม.
3.โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง 3.7 กม.

โรงพยาบาล
1.โรงพยาบาลรามคำแหง 1 กม.
2.โรงพยาบาลเวชธานี 3.1 กม.
3.โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ 3.2 กม.

4
การจัดฟันเด็ก ช่วงที่ยังมีฟันน้ำนม แตกต่างจากช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นครบแล้วอย่างไร

ฟันน้ำนมของเด็ก ถือว่ามีบทบาทสำคัญในลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่จะเกิดฟันแท้มาแทนที่ ยังช่วยในเรื่องลักษณะทางกายภาพให้มีโครงสร้างร่างกายเป็นปกติ มีฟันไว้ช่วยบดเคี้ยวอาหาร หากฟันน้ำนมมีสุขภาพดี ไม่ผุกร่อนหรือติดเชื้อ ก็จะส่งเสริมพัฒนาการฟันแท้ที่จะงอกตามมาให้สมบูรณ์แข็งแรงไปด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่จะดูแลรักษาความสะอาดฟันของเด็กให้ดี

เพราะฉะนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้เด็กแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แปรงฟันให้เด็ก หรือช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง รักษาความสะอาดของช่องปากอยู่เสมอ บ้วนปาก แปรงฟัน หลังรับประทานอาหาร หรืออาจใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันเพิ่มเติม และควรให้เด็กรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ และจำกัดปริมาณอาหารหรือขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาฟันในอนาคตของเด็ก หรือถ้าเด็กมีปัญหาในเรื่องของฟัน พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่จะเด็กๆเข้ารับการจัดฟันในเด็ก เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของความผิดปกติของฟัน

สำหรับการจัดฟันในเด็กนั้น สามารถแก้ไขปัญหาได้แทบทุกกรณี ทั้งยังช่วยทำให้เด็กมีโครงสร้างของใบหน้าที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งการจัดฟันในเด็กที่มีอายุ 4-7 ปี เหมาะสำหรับการจัดฟันด้วยเครื่องมือ EF line เพราะเป็นชุดเครื่องมือที่สามารถใช้แก้ไขปัญหากล้ามเนื้อที่มีการทำงานผิดปกติ ช่วยปรับตำแหน่งของลิ้น ช่วยส่งเสริมการปรับรูปของกระดูกโดยเราทราบว่ากระบวนการเจริญเติบโตของเด็กที่เกี่ยวข้องกับกระดูกใบหน้าส่วนกลางและกระดูกขากรรไกรล่างมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากน้อยตามแต่ช่วงอายุ

ดังนั้น ตามหลักการแล้วหากต้องการปรับโครงสร้างใบหน้าจึงต้องทำการเริ่มแก้ไขในช่วงที่เด็กยังมีการเจริญเติบโตซึ่ง ซึ่งสามารถแกไขปัญหาฟันได้ตั้งแต่เด็กยังมีฟันน้ำนม ซึ่งพ่อแม่ที่อยากพาเด็กเข้ารับการจัดฟัน บางท่านอาจจะมีข้อสงสัยว่า การพาเด็กเข้ารับการจัดฟันในช่วงฟันน้ำนมกับช่วงที่มีฟันแท้ขึ้นครบแล้ว แตกต่างกันอย่างไร วันนี้ทางคลินิกจะมาพูดถึงความแตกต่างของการจัดฟันในเด็ก ในช่วงฟันน้ำนมและฟันแท้ว่ามีความแตกต่างอย่างไร และการจัดฟันในเด็กช่วงไหนดีที่สุด เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เป็นแนวทางพาบุตรหลานเข้ารับการจัดฟันในเด็ก

จริงๆแล้วการจัดฟันในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถนำเด็กๆ อายุต่ำว่า 10 ปี มาตรวจกับทันตแพทย์จัดฟันได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวัยรุ่น แนะนำให้พาเด็กอายุ 7-10 ปี ไปตรวจกับทันตแพทย์จัดฟัน เพราะหากพบปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ เด็กวัยนี้ก็สามารถจัดฟันได้แล้ว ถ้าเด็กในวัยนี้เหมาะสำหรับการจัดฟัน EF Line อย่างไรก็ตาม การจัดฟันในวัยเด็ก หรือระยะชุดฟันผสมเป็นระยะที่ฟันหน้าและฟันกรามถาวรซี่แรกขึ้นเรียบร้อยแล้ว ควรจัดฟัน เพื่อแก้นิสัยหรือความผิดปกติที่เกิดจากขากรรไกร โดยเครื่องมือชักนำและปรับเปลี่ยนทิศทางการเจริญเติบโตของขากรรไกร ต่อมาในช่วงวัยรุ่น หรือระยะฟันถาวร เป็นระยะที่ฟันถาวรทุกซี่ยกเว้นฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะที่เหมาะสมในการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันที่มีความผิดปกติ

และในวัยผู้ใหญ่การจัดฟันจะสามารถแก้ไขได้เฉพาะความผิดปกติของตำแหน่งฟัน ดังนั้น การจัดฟันในด็กตั้งแต่ยังมีฟันน้ำนมจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะสามารถแก้ไขความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และช่วยป้องกันฟันที่ขึ้นอย่างผิดปกติด้วย

หากใครสนใจพาบุตรหลานของ่ทานเข้ารับการจัดฟันในเด็ก ก็สามารถพาบุตรหลานเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการจัดฟันได้ โดยติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่คลินิกเพราะทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดฟันในเด็ก และสามารถให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง เพราะเราอยากให้เด็กๆทุกคนที่สุขภาพช่องปากและฟันที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อที่จะได้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง

5
งานมอเตอร์โชว์ New Honda Wave110i 5 สีสันใหม่ เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์ภายใต้คอนเซปต์ "ครอบครัวเวฟเชื่อใจที่ 1" ราคาเริ่มต้น 44,200 บาท

ไทยฮอนด้า ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นที่ 1 ของ New Honda Wave 110i รถจักรยานยนต์ยอดนิยมที่ไม่เพียงแค่ครองใจคนไทยมายาวนานกว่า 20 ปี แต่ยังครองตำแหน่งโมเดลที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในทุกภูมิภาคทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยล่าสุดเปิดตัวภายใต้คอนเซปต์ ครอบครัวเวฟเชื่อใจที่ 1 มาพร้อมสีสันใหม่ถึง 5 สี โดดเด่นอย่างมีสไตล์ด้วยลวดลายกราฟิกใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อครอบครัวเวฟ เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว

New Honda Wave110i ตัวจริงเรื่องประหยัด แรง ทนทาน ด้วยขุมพลัง Honda Smart Engine เทคโนโลยีที่ดีที่สุดของรถครอบครัว สมรรถนะแรงบิดสูง แข็งแรงทนทาน และให้อัตราการประหยัดน้ำมันเป็นที่ 1

ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 110 ซีซี ระบบหัวฉีด PGM – FI ให้อัตราประหยัดน้ำมันสูงถึง 76.9 กม./ลิตร วิ่งได้ไกลอย่างต่อเนื่องด้วย Fuel Tank ความจุ 5 ลิตร ให้ทุกการเดินทางไม่ว่าจะเป็นภาคไหนก็เป็นเรื่องง่าย สบายใจเสมอ ทั้งยังใช้งานสะดวกด้วยหน้าปัดเรือนไมล์แบบดิจิทัล

New Honda Wave110i มากับไฟหน้า LED Headlight ส่องสว่างเพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น หน้าจอแสดงผล Meter with LCD ออกแบบแยกส่วน ให้ข้อมูลการใช้งานได้อย่างครบถ้วน พื้นที่ใต้เบาะ Big U-Box ขนาดใหญ่ 10 ลิตร เก็บของได้อย่างจุใจ


ไทยฮอนด้า พร้อมวางจำหน่าย New Honda Wave110i ทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่

รุ่นสตาร์ทมือ ล้อแม็ก มีให้เลือกทั้งหมด 5 เฉดสีใหม่ ได้แก่ สีเทา-ดำ (BLACK-GRAY), สีขาว-น้ำเงิน (WHITE-BLUE), สีแดง (RED), สีน้ำเงิน (BLUE), และสีดำ-เหลือง (BLACK-YELLOW) ราคาแนะนำ 46,900 บาท

รุ่นสตาร์ทมือ-สตาร์ทเท้า ล้อซี่ลวด มาพร้อม 3 สีใหม่ สีแดง-ดำ (RED-BLACK), สีน้ำเงิน-ดำ (BLUE-BLACK), สีดำ-เหลือง (BLACK-YELLOW) และสีดำ (BLACK) ราคาแนะนำ 44,900 บาท

และรุ่นสตาร์ทเท้า ล้อซี่ลวด ก็ยังคงมาพร้อมกับเฉดสีดำ (BLACK) เรียบหรู ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ราคาแนะนำ 44,200 บาท

6
Doctor At Home: โรคลมชัก (Seizures/Epilepsy)/ลมบ้าหมู (Grand mal)

โรคลมชัก เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ผิดปกติของสมอง ทำให้เกิดอาการหมดสติ เคลื่อนไหวผิดปกติ รับสัมผัสความรู้สึกแปลก ๆ หรือมีพฤติกรรมผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นฉับพลัน เป็นอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็กลับหายเป็นปกติได้เอง แต่มักจะมีอาการกำเริบซ้ำเป็นครั้งคราว แพทย์มักจะวินิจฉัยโรคลมชักต่อเมื่อพบว่ามีอาการกำเริบตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป การชักเพียงครั้งเดียวอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และหายขาดตลอดไป แพทย์จะไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก

โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 0.5-1 ของประชากรทั่วไป พบได้ในคนทุกอายุ แต่มักจะพบเป็นครั้งแรกในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และคนอายุมากกว่า 65 ปี

ในปัจจุบันมีการแบ่งโรคลมชักออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ โรคลมชักเฉพาะส่วน (focal seizures) และโรคลมชักทั่วไป (generalized seizures) แต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ออกไปอีกหลายชนิด

ในที่นี้จะกล่าวอย่างละเอียดเฉพาะ โรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (tonic-clonic seizures หรือ grand mal seizures) ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคลมชักแบบทั่วไป จะมีอาการชักร่วมกับหมดสติ (ตรงกับที่คนไทยเรียกว่า ลมบ้าหมู) โรคลมชักชนิดนี้จัดว่าเป็นชนิดที่พบได้บ่อย มีความรุนแรงและมีอันตรายมากกว่าชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากลายเป็นโรคลมชักต่อเนื่อง (status epilepticus) มีโอกาสเสียชีวิตและพิการค่อนข้างสูง

สาเหตุ

สำหรับโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) ซึ่งเป็นโรคลมชักแบบทั่วไปชนิดหนึ่ง เกิดจากการปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างผิดปกติของเซลล์สมองเพียงจุดใดจุดหนึ่งในสมอง และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังสมองทั้งสองด้าน กระตุ้นให้เกิดอาการชักทั้งตัวและหมดสติชั่วขณะ

โรคลมชักกว่าร้อยละ 50 จะเกิดขึ้นโดยตรวจไม่พบสาเหตุชัดเจน เรียกว่า โรคลมชักชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic seizures) เชื่อว่ามีความพร่องของสารเคมีบางอย่างในการควบคุมกระแสไฟฟ้าในสมอง โดยที่โครงสร้างของสมองเป็นปกติดี ทำให้การทำหน้าที่ของสมองสูญเสียความสมดุล เกิดอาการลมชักขึ้น โรคลมชักชนิดนี้ส่วนใหญ่มักพบมีอาการครั้งแรกในคนอายุ 5-20 ปี และเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ (มักมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว)

ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนหนึ่งจะตรวจพบสาเหตุชัดเจน เรียกว่า โรคลมชักชนิดทราบสาเหตุ (symptomatic seizures) ซึ่งมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีที่เริ่มชักเป็นครั้งแรก มีสาเหตุตามกลุ่มอายุดังนี้

    อาการชักในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อาจมีสาเหตุจากไข้ (ดู “โรคชักจากไข้”) โรคติดเชื้อในสมอง ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด สมองได้รับการกระทบกระเทือนระหว่างคลอด หรือมีภาวะบางอย่างที่กระทบต่อสมอง เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
    ในเด็กเล็กที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการ เช่น ออทิสติก (autism spectrum disorder) สมาธิสั้น (ADHD) กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) สมองพิการ (cerebral palsy ซึ่งเกิดจากสมองขาดออกซิเจนตอนคลอด) มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชักมากกว่าปกติ
    ในวัยทำงานหรือวัยกลางคน อาจเกิดจากโรคพิษสุรา ยาเสพติด การใช้ยาเกินขนาด
    ในผู้สูงอายุอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง โรคสมองเสื่อม ไตวาย หรือตับวายระยะท้าย ความดันโลหิตสูงชนิดร้ายแรง
    ในคนทุกวัยอาจเกิดจากโรคติดเชื้อ (เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มาลาเรียขึ้นสมอง เอดส์) เนื้องอกสมอง ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เลือดออกในสมอง เป็นฝีหรือพยาธิในสมอง สมองอักเสบจากโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune encephalitis) ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดสมอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พิษจากยาเกินขนาด (เช่น ยาชาลิโดเคน ยาแก้ซึมเศร้า ทีโอฟิลลีน เป็นต้น)
    ในหญิงตั้งครรภ์อาจเกิดจากครรภ์เป็นพิษ

อาการ

สำหรับโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) ผู้ป่วยอยู่ดี ๆ ก็มีอาการหมดสติ เป็นลมล้มพับกับพื้นทันที พร้อมกับมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งทั้งตัว หายใจลำบาก หน้าเขียว ซึ่งจะเป็นอยู่นานไม่กี่วินาทีถึง 20 วินาที ต่อมาก็จะมีอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นระยะ ๆ และมีอาการตาค้าง ตาเหลือก ในระยะแรกมักจะถี่แล้วค่อย ๆ ลดลงตามลำดับจนกระทั่งหยุดกระตุก ในช่วงนี้จะมีอาการน้ำลายฟูมปาก และอาจมีเลือดออก (จากการกัดริมฝีปากหรือลิ้นตัวเอง) อาจมีอาการปัสสาวะหรืออุจจาระราดร่วมด้วย

อาการชักจะเป็นอยู่นาน 1-3 นาที แล้วฟื้นสติตื่นด้วยความรู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย บางรายอาจม่อยหลับไปนานเป็นชั่วโมง ๆ

ผู้ป่วยมักจะจำไม่ได้ว่าตัวเองล้มลง

หลังจากม่อยหลับและตื่นขึ้นมาแล้ว อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง สับสน อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หาวนอน ลืมตัว และอาจทำอะไรที่ตัวเองจำไม่ได้ในภายหลัง

บางรายอาจมีอาการเตือน หรือออรา (aura) นำมาก่อนจะหมดสติ เช่น แขนหรือขาชาหรือกระตุกเพียงข้างหนึ่ง หรืออาจเห็นแสงวาบ ได้กลิ่น รส หรือได้ยินเสียงแปลก ๆ หรือมีความรู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น

ผู้ป่วยอาจเกิดอาการชักในเวลากลางวัน หรือหลังเข้านอนตอนกลางคืนก็ได้ บางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุกระตุ้น บางครั้งก็พบสาเหตุที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยชัก เช่น การอดนอนหรือนอนไม่พอ หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา การกินอาหารมากเกินไป ร่างกายเหนื่อยล้า อารมณ์เครียด การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยา (เช่น แอมเฟตามีน โคเคน) การใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก-ไดเฟนไฮดรามีน ยาแก้คัดจมูก-สูโดเอฟีดีน ยาแก้ปวด-ทรามาดอล ยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น) การมีประจำเดือน การเจ็บป่วย (เช่น ไข้สูง โรคโควิด-19 ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ภาวะขาดน้ำ) การอยู่ในที่ที่มีเสียงอึกทึกหรือมีแสงจ้า หรือแสงวอบแวบ การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การลืมกินยารักษาโรคลมชัก เป็นต้น


ลมบ้าหมู

โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักมีอาการชักอยู่เพียง 1-3 นาที ก็จะหยุดชัก และฟื้นสติตื่นขึ้น

บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นโรคลมชักต่อเนื่อง (status epilepticus) ซึ่งเป็นภาวะอันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยจะชักต่อเนื่องนานกว่า 5 นาทีขึ้นไป หรือมีอาการชักตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการฟื้นสติในระหว่างช่วงการชักแต่ละครั้ง

โรคลมชักต่อเนื่องมักพบในผู้ป่วยที่เคยกินยารักษาโรคลมชักมาก่อนแล้วขาดยา (หยุดกินยา) ทันที แต่ถ้าพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอาการโรคลมชักเป็นครั้งแรก ก็มักจะเป็นโรคลมชักชนิดทราบสาเหตุ เช่น โรคติดเชื้อของสมอง เนื้องอกสมอง สมองพิการ ตกเลือดในสมอง พิษยาเกินขนาด ภาวะถอนแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยที่ติดแอลกอฮอล์ ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

สำหรับโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว/ลมบ้าหมู อาจมีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

    อาการหมดสติ ล้มฟุบ และชัก อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ เช่น บาดแผลตามร่างกาย แผลจากการกัดลิ้นตัวเอง กระดูกหัก ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

ข้อสำคัญคือ อาจทำให้ได้รับอุบัติเหตุขณะขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ขณะเล่นน้ำหรือว่ายน้ำ ปีนป่ายหรืออยู่ในที่สูง อยู่ใกล้เตาไฟ น้ำร้อนหรือของร้อน ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงถึงตายได้

    อาจทำให้เกิดการสำลักเศษอาหารลงปอด เกิดปอดอักเสบได้
    ผู้ที่มีอาการชักบ่อย อาจทำให้มีอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การเรียนหนังสือ และการทำงานได้
    บางรายพบว่ามีความบกพร่องทางอารมณ์และสติปัญญา เช่น ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ มีภาวะวิตกกังวล หรือซึมเศร้า
    ในรายที่เป็นโรคลมชักต่อเนื่อง (status epilepticus) หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็อาจทำให้สมองพิการหรือเสียชีวิตได้ ภาวะนี้มีอัตราตายถึงร้อยละ 10-20
    ผู้ที่เป็นโรคลมชักรุนแรงบางรายอาจเกิดภาวะเสียชีวิตกะทันหัน (sudden unexpected death in epilepsy) ขณะมีอาการกำเริบ แม้เกิดอาการขณะอยู่ในที่ที่ปลอดภัย (เช่น บนเตียงนอน) ก็ตาม สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภาวะร้ายแรง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะขาดอากาศหายใจ (suffocation) การสำลักอาหาร เป็นต้น มักเกิดกับผู้ที่ยังควบคุมอาการชักไม่ได้ผลดีและมีการขาดยารักษา ภาวะนี้พบได้ประมาณ 1 รายต่อผู้ที่เป็นโรคลมชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) 1,000 รายต่อปี

การวินิจฉัย

สำหรับโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบดังนี้

โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลมักจะหยุดชักแล้ว ซึ่งตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ ยกเว้นบาดแผลตามร่างกายหรือลิ้น ในกรณีที่มีการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุแทรกซ้อน

ถ้าพบผู้ป่วยขณะมีอาการ ก็จะพบอาการหมดสติ ชักเกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก หน้าเขียว

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรืออีอีจี (electroencephalogram/EEG) ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เจาะหลัง (lumbar puncture) เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

สำหรับโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้

1. ในรายที่มีอาการชักติดต่อกันนานเกิน 5 นาที อาจมีแนวโน้มเป็นอาการแสดงของโรคลมชักต่อเนื่อง แพทย์จะให้การปฐมพยาบาล และฉีดยาแก้ชัก (เช่น ไดอะซีแพม, ลอราซีแพม, ฟีโนบาร์บิทาล, เฟนิโทอิน, ไมดาซีแพม) และให้การรักษาแบบประคับประคอง (เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ออกซิเจน ให้น้ำเกลือ) ตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุ ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็จะฉีดกลูโคสขนาด 50% 50-100 มล. เข้าหลอดเลือดดำ

ถ้าหยุดชักแล้ว ให้การรักษาดังข้อ 2

2. ในรายที่ชักเพียงชั่วขณะ หรือหยุดชักจากการดูแลรักษาเบื้องต้น ถ้าเป็นการชักครั้งแรก หรือยังไม่เคยได้รับการตรวจจากแพทย์มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หรือคนอายุมากกว่า 25 ปี อาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรืออีอีจี (electroencephalogram/EEG) ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เจาะหลัง (lumbar puncture) เพื่อค้นหาความผิดปกติของสมอง นอกจากนี้หากสงสัยว่ามีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ อาจต้องทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ (เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจระดับน้ำตาลและเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดทดสอบการทำงานของตับและไต เป็นต้น) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

ถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคลมชักชนิดไม่ทราบสาเหตุ หากเพิ่งเคยชักมาเพียง 1 ครั้ง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ และเฝ้าสังเกตดูอาการต่อไป โดยยังไม่ให้ยารักษา เนื่องเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีอาการชักอีกตลอดไป (โอกาสชักซ้ำพบได้ประมาณร้อยละ 30-60) ซึ่งไม่คุ้มกับผลข้างเคียงจากยา

แพทย์จะพิจารณาให้ยากันชักแก่ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบซ้ำครั้งที่ 2 ยาที่นิยมใช้เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ฟีโนบาร์บิทาล และเฟนิโทอิน โดยจะเลือกใช้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก่อน แพทย์จะค่อย ๆ ปรับขนาดยาที่ใช้ขึ้นทีละน้อยจนสามารถควบคุมอาการได้ ถ้าไม่ได้ผลอาจเปลี่ยนไปใช้ยาพื้นฐานอีกชนิดหนึ่ง

แต่ถ้าได้ลองใช้ยาพื้นฐานในขนาดเต็มที่แล้วยังไม่ได้ผล อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ชนิดอื่น เช่น โซเดียมวาลโพรเอต (sodium valproate) คาร์บามาซีพีน (carbamazepine) โทพิราเมต (topiramate) เป็นต้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดอาการกำเริบด้วยยาเพียงชนิดเดียว มีน้อยรายที่อาจต้องให้ยาควบกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป

เมื่อปรับยาจนสามารถควบคุมโรคได้แล้ว ผู้ป่วยจะต้องกินยาในขนาดนั้นไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายปี จนปลอดอาการชักแล้ว 2-3 ปี (สำหรับเด็ก) และ 5 ปี (สำหรับผู้ใหญ่) จึงเริ่มหยุดยา โดยค่อย ๆ ลดลงทีละน้อย ห้ามหยุดยาทันที อาจทำให้เกิดโรคลมชักต่อเนื่องเป็นอันตรายได้

เมื่อลดยาหรือหยุดยาแล้ว กลับมีอาการชักใหม่ (พบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเด็ก และร้อยละ 40-50 ในผู้ใหญ่) ก็ควรจะกลับไปใช้ยาตามเดิมอีก บางรายอาจต้องกินยาคุมอาการตลอดไป

3. สำหรับผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักและกินยารักษามาก่อน ถ้าพบว่ามีอาการชักเพราะขาดยาหรือปรับลดยาเอง ก็ให้กลับไปกินยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอยู่เดิม แต่ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการชักทั้ง ๆ ที่กินยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอยู่แล้ว อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนยาใหม่ จนกว่าจะควบคุมอาการได้

4. ในรายที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผลหรือทนต่อผลข้างเคียงไม่ได้ แพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อค้นหาตำแหน่งเนื้อสมองที่เป็นจุดกำเนิดการชัก (ปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าผิดปกติ) และทำการผ่าตัดสมองจุดนั้นออกไป  ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือไม่ก็อาจช่วยลดความถี่และบรรเทาความรุนแรงของการชัก หลังผ่าตัดแพทย์จะให้ยากันชักคอยควบคุมอาการต่อไป

ในกรณีที่ผู้ป่วยดื้อต่อยาและการผ่าตัดดังกล่าว แพทย์อาจรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น

    การใช้เครื่องกระตุ้นประสาทเวกัส (vagus nerve stimulation) เป็นการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นประสาทไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก โดยมีสายไฟต่อกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 หรือประสาทเวกัส (Vagus Nerve) ซึ่งอยู่ที่บริเวณคอ เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังเส้นประสาทเวกัสและสมอง ก็จะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการชักลงได้ และลดขนาดยากันชักที่ใช้ลงได้
    การกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation/DBS) เป็นการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้า (electrodes) ไว้ที่บริเวณทาลามัสในสมอง โดยต่อกับอุปกรณ์กระตุ้นไฟฟ้าซึ่งฝังอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก หรือกะโหลก เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังสมอง ก็จะช่วยลดอาการชักลงได้

ผลการรักษา ส่วนใหญ่การใช้ยากันชักมักทำให้สามารถควบคุมโรคได้ดี คือ ปลอดอาการชักได้ ซึ่งอาจต้องใช้ยาต่อเนื่องนานเป็นปี ๆ กว่าจะหยุดยาได้ บางรายหลังหยุดยาอาจมีอาการชักกำเริบได้อีก บางรายอาจดื้อต่อยา และจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยวิธีอื่น


การดูแลตนเอง

หากมีอาการชัก ควรให้การปฐมพยาบาล และพาผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคลมชักหรือลมบ้าหมู ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    ติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด
    กินยากันชักทุกวัน ตามขนาดที่แพทย์แนะนำ ควรทำบันทึกการกินยาและการนัดของแพทย์เพื่อกันลืม
    อย่าหยุดยา หรือปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือซื้อยากินเอง
    ถ้าลืมกินยาไปเพียงมื้อเดียวหรือวันเดียว ให้เริ่มกินในมื้อต่อไปตามปกติ
    หลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดอื่นร่วมกับยากันชักโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะยาบางชนิดอาจต้านฤทธิ์ยากันชัก ทำให้อาการชักกำเริบได้ บางชนิดอาจเสริมฤทธิ์ยากันชัก ทำให้เกิดพิษขึ้นได้
    ยากันชักบางชนิดอาจต้านฤทธิ์ยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้คุมกำเนิดไม่ได้ผล บางชนิดอาจมีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการหรือแท้งได้ ผู้ป่วยที่กินยาคุมกำเนิดหรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแลที่เหมาะสมต่อไป เช่น ในรายที่กินยาโซเดียมวาลโพรเอต หรือคาร์บามาซีพีน แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินยาเม็ดกรดโฟลิก (folic acid) ขนาด 1 มก./วัน ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการทางระบบประสาทในทารก (neural tube defect)
    หากตั้งครรภ์ หรือเจ็บป่วยอย่างอื่น ควรแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบ และนำยาที่กินอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วย
    ในกรณีที่เปลี่ยนสถานที่รักษา ควรนำประวัติและยาที่กินอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วย
    หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการชัก เช่น อย่าอดนอน อย่าอดอาหาร อย่าทำงานเหนื่อยเกินไป ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก อย่าเข้าไปในที่ที่มีเสียงอึกทึกหรือมีแสงจ้า หรือแสงวอบแวบ หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนทางจิตใจ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด
    หลีกเลี่ยงการกระทำและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย เช่น ว่ายน้ำ ปีนขึ้นที่สูง อยู่ใกล้ไฟ ใกล้น้ำ ทำงานกับเครื่องจักร ขับรถ ขับเรือ เดินข้ามถนนตามลำพัง เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องว่ายน้ำ ควรมีคนอื่นอยู่ด้วยตลอดเวลา

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    มีอาการชักกำเริบ
    ขาดยาที่แพทย์สั่งให้ใช้หรือยาหาย
    มีไข้ หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ
    มีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา

การปฐมพยาบาลสำหรับโรคลมบ้าหมูหรืออาการชัก

เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการชัก ควรให้การปฐมพยาบาลดังนี้

1. ป้องกันอันตราย หรือการบาดเจ็บ โดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในพื้นที่โล่งและปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือระเกะระกะอยู่ข้างกาย (ถ้ามีข้าวของที่อยู่รอบบริเวณผู้ป่วยควรเคลื่อนย้ายออกไป) ระวังการตกจากที่สูง และให้อยู่ห่างจากน้ำและไฟ

2. ปลดเสื้อผ้า เข็มขัด เครื่องแต่งกาย เน็กไท ผ้าพันคอให้หลวม

3. จับผู้ป่วยนอนในท่าตะแคง เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง (โดยการผลักลำตัวผู้ป่วย ไม่ใช่การดึงแขนผู้ป่วย อาจทำให้ไหล่หลุดได้) ให้ผู้ป่วยหนุนหมอนหรือผ้าห่ม

4. ถ้ามีเศษอาหาร เสมหะ หรือฟันปลอม ให้นำออกจากปาก ถ้าผู้ป่วยใส่แว่นตาควรถอดออก

5. อย่าใช้วัตถุ (เช่น ไม้ ด้ามช้อน ปากกา ดินสอ) สอดใส่ปากผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้น เพราะนอกจากไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรแล้ว ยังอาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บได้

6. อย่าผูกหรือมัดตัวผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บได้

7. อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง จนกว่าจะหายเป็นปกติ

8. อย่าให้ผู้ป่วยกินอะไรระหว่างชัก หรือหลังชักใหม่ ๆ อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักได้


การป้องกัน

โรคลมชักชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic seizures) แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้อาการชักกำเริบได้ ด้วยการกินยารักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ “การดูแลตนเอง”

โรคลมชักชนิดทราบสาเหตุ (symptomatic seizures) อาจป้องกันด้วยการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือภาวะที่ทำให้ชัก อาทิ

    ป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะจากเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุทางจราจร การตกจากที่สูง เป็นต้น
    ป้องกันการเกิดโรคพยาธิในสมอง เช่น โรคพยาธิตืดหมู ด้วยการไม่กินเนื้อหมูดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ
    ป้องกันไม่ให้เป็นโรคติดเชื้อที่มีผลต่อสมอง เช่น มาลาเรีย สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
    ป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยาเบาหวาน พึงระวังไม่ให้ใช้ยาเกินขนาด หรือกินอาหารผิดเวลา หรืออดอาหาร
    หลีกเลี่ยงการดื่มสุราจัด หรือการใช้สารเสพติดชนิดกระตุ้นประสาท

ข้อแนะนำ

1. โรคลมชักมีหลายชนิด นอกจากโรคลมชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) ซึ่งมีอาการชักร่วมกับหมดสติ และมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้แล้ว ยังอาจมีโรคลมชักชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีอาการหมดสติ หรืออาการชักก็ได้ เช่น มีอาการแขนหรือขาชาหรือกระตุกเพียงข้างเดียว หรือมีอาการกระตุกของมุมปาก ใบหน้า นิ้วมือหรือนิ้วเท้า หรืออาจเห็นแสงวาบ ได้กลิ่น รส หรือได้ยินเสียงแปลก ๆ หรือมีอาการแบบเผลอสติ (สูญเสียการรับรู้สิ่งรอบตัว) หรือเหม่อนิ่งชั่วขณะ เป็นต้น หากพบว่ามีอาการชัก หมดสติ หรืออาการแปลก ๆ ดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักชนิดไม่ทราบสาเหตุหรือลมบ้าหมู ส่วนใหญ่มีทางรักษาให้หายขาดได้ หรือสามารถใช้ยาควบคุมไม่ให้เกิดการชักได้ แต่ต้องกินยาติดต่อกันนานเป็นปี ๆ บางรายอาจต้องกินยาไปตลอดชีวิต ผู้ป่วยควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนควบคุมโรคได้แล้ว ผู้ป่วยสามารถทำงาน เรียนหนังสือ เล่นกีฬาหรือออกสังคมได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถแต่งงานได้

3. ผู้ป่วยควรเปิดเผยให้เพื่อนที่ทำงานหรือที่โรงเรียนทราบถึงโรคที่เป็น เพื่อว่าเมื่อเกิดอาการชักจะได้ไม่ตกใจ และหาทางช่วยเหลือให้ปลอดภัย พ่อแม่ ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงควรมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของโรคและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย ไม่ควรแสดงความรังเกียจ ควรให้กำลังใจผู้ป่วย และให้เข้าร่วมกิจกรรมในชีวิตประจำวันเช่นคนอื่น ๆ

4. อาการชักอาจมีสาเหตุได้หลากหลาย (ตรวจอาการชัก) แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกแยะให้แน่ชัดก่อนจะสรุปว่าเป็นโรคลมชักชนิดไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ อาจเกิดจากความผิดปกติทางสมอง ส่วนในวัยรุ่นหรือวัยทำงานอาจเกิดจากพิษแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด



7
คอนโดติดรถไฟฟ้า ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ นนทบุรี สเตชั่น (Origin Plug & Play Nonthaburi Station)
เริ่มต้น 1.69 ลบ.

ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ นนทบุรี สเตชั่น (Origin Plug & Play Nonthaburi Station)
คอนโดสูงวิวสวย บนความสูง 31 ชั้น *Duo Space พื้นที่แบบใหม่ ห้อง 2 ชั้น เพิ่มพื้นที่ 2 เท่า *เปิดทุกมุมมองใหม่ด้วยห้อง เพดานสูง 4.2 ม. *Rooftop Facilities ส่วนกลางลอยฟ้า ดื่มด่ำทัศนียภาพวิวแม่น้ำเจ้าพระยา *One Stop Service บริการตอบโจทย์ชาว Start-Up ติดถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้ MRT แยกนนทบุรี เพียง 250 เมตร

 รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ               ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ นนทบุรี สเตชั่น (Origin Plug & Play Nonthaburi Station)
 เจ้าของโครงการ          ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้
 แบรนด์ย่อย               ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์
 ราคา                      เริ่มต้น 1.69 ลบ.
 ราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.     โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ลักษณะทำเล           คอนโดใกล้ขนส่งสาธารณะ
 ความสูงคอนโด         High Rise (9 ชั้นขึ้นไป)
 ลักษณะกรรมสิทธิ์      โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ประเภทห้องที่มี         1 ห้องนอน
 ขนาดห้องที่มี          ตั้งแต่ 22.00 ถึง 49.00 ตร.ม.
 เนื้อที่ทั้งหมด          3 ไร่ 3 งาน 14 ตร.ว.
 จำนวนตึก             1 อาคาร
 จำนวนชั้น             31 ชั้น
 จำนวนห้อง           999 ยูนิต
 ที่จอดรถทั้งหมด     342 คัน หรือ 34.2%
 ค่าบำรุงส่วนกลาง    โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 สาธารณูปโภค         สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, รปภ., กล้องวงจรปิดโครงการ, อื่นๆ (Game Room. Board Game Room. Yoga Room), Sky Lounge, Co-Working Space, ห้องประชุม

 สถานที่ใกล้เคียง
 โซน           นนทบุรี, บางบัวทอง, บางใหญ่, ปากเกร็ด
 ที่ตั้ง           34 ถนน รัตนาธิเบศร์ บางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000

 ขนส่งสาธารณะ
รถไฟฟ้า:           ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีม่วง, สถานี(บางซื่อ - บางใหญ่)(แยกนนทบุรี 1)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
ตลาดนกฮูก
เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์
เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน
Big C รัตนาธิเบศร์
เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต
ศูนย์ราชการนนทบุรี

8
การจัดฟันเด็ก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
 
ในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองมักคิดว่า ฟันน้ำนมไม่สำคัญ เพราะเดี๋ยวก็มีฟันแท้ขึ้นมาแทน ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะฟันน้ำนมของเด็กนั้น มีบทบาทสำคัญมาก ต่อลักษณะการขึ้นของฟันแท้ ซึ่งถ้าหากไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนม อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ในอนาคต ในปัจจุบันวงการทันตกรรมมีการพัฒนาไปมาก จึงมีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า การจัดฟันในเด็ก ซึ่งเด็กในวัยประถมก็สามารถเข้ารับการจัดฟันได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวัยรุ่น เพราะในหลายปัญหาอาจสามารถหลีกเลี่ยง หรือลดความรุนแรงได้ หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

นอกจากนี้ ในวัยรุ่นบางคนที่มีปัญหาเรื่องขนาดขากรรไกร และทันตแพทย์จัดฟันอาจไม่แนะนำ ให้เสี่ยงจัดฟันในตอนนี้ เนื่องจากอาจทำให้ความผิดปกติยิ่งแย่ลงไปอีก แต่จะให้รอดูอาการก่อน แต่การเข้ารับการจัดฟัน ได้รับความนิยมมากในวัยรุ่น เพราะนอกจากจะเป้นเทรนยอดฮิตแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาฟันได้แทบทุกกรณี ซึ่งการจัดฟันก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ

ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้น ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป และมีผลการรักษาที่ไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้น หากจะเข้ารับการจัดฟันในเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องพาบุตรหลานเข้าพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการจัดฟัน ทันตแพทย์ก็จะพิจารณาปัญหาและใช้รูปแบบการจัดฟันในเหมาะสมกับปัญหาเพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ในการเข้ารับการจัดฟัน หลายคนที่อยากจะจัดฟัน อาจจมีความกังวลว่า การจัดฟันนั้น จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ แน่นอนว่า การจัดฟันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ในแต่ละรูปแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป
 
สำหรับวันนี้ทางคลินิก ของเราจะมาพูดถึงการจัดฟันในเด็ก ว่าส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือและปรับตัวระหว่าการเข้ารับการจัดฟันในเด็ก ในการจัดฟันในเด็กนั้น ทันตแพทย์จัดฟันอาจพิจารณาให้ใช้เครื่องมือแบบถอดเข้าออกได้ หรืออาจจะใช้เครื่องมือแบบติดแน่นมัดด้วยยางที่มีสีสันต่างๆ แบบที่เราเห็นกันทั่วไป โดยการใช้เครื่องมือแบบถอดเข้าออกได้ มีข้อเสียที่สำคัญคือ มันต้องอาศัยความร่วมมือของเด็ก

หากเด็กไม่ยอมสวมใส่เครื่องมือตามทีทันตแพทย์แนะนำ ก็จะทำให้การรักษาก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นในเด็กบางคน ทันตแพทย์จึงใช้เครื่องมือแบบติดแน่นแทน ดังนั้น ตัวเครื่องมือการจัดฟันในเด็กแบบติดแน่นนั้น จึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับประทานอาหาร และการทำความสะอาดของช่องปากและฟัน เพราะการที่เด็กมีเครื่องใอการจัดฟันอยู่ภายในปาก ทำให้เด้กรับประทานอาหารได้ลำบากมากขึ้น

อาจจะทำให้เด็กเกิดอาการเบื่ออาหาร หรือแม้กระทั่งการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน ก็ทำได้ยากยิ่งขึ้น เพราะเด็กบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจในการทำความสะอาดช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองคงรที่จะแนะนำสอนเด็กให้ทำความสะอาดช่องปากและฟันอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันกานรเกิดฟันผุ และอีกเรื่องหนึ่งที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็คือ เด็กอาจจะต้องระมัดระวังในการเล่นกิจกรรมที่ต้องมีการปะทะเช่น เล่นบาสเกตบอล เล่นฟุตบอล หรือกิจกรรมอื่นๆที่เสี่ยงที่จำทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ก็ต้อระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่อาจจะทำให้เด้ได้รับอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการจัดฟันในเด็กอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กบ้างในบางเรื่อง แต่ผลลัพธ์ของการจัดฟันในเด็ก ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะจะทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี มีฟันที่สวยงามเป็นธรรมาชาติได้ ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

9
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (Normal pressure hydrocephalus/NPH)

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ ก็เรียก) เป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่ง ที่ทำให้มีอาการผิดปกติเกี่ยวการเดินเป็นหลัก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองแบ่งเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ กับชนิดทุติยภูมิ (มีสาเหตุ)

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic normal pressure hydrocephalus/iNPH) มักพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป* พบในผู้ชายและผู้หญิงพอ ๆ กัน ผู้ป่วยจะเริ่มปรากฏอาการเมื่ออายุ 70 ปีโดยเฉลี่ย สำหรับกลุ่มอายุน้อยกว่า 65 ปี จะพบได้น้อย* และโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 6 ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ (secondary normal pressure hydrocephalus) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติทางสมองอื่น ๆ พบได้ในคนทุกวัย

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ จัดว่าเป็นโรคทางสมองในผู้สูงอายุชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้

*มีรายงานว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นโรคนี้ ร้อยละ 0.2-2.9 และมีรายงานว่าคนสวีเดนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป พบโรคนี้ถึงร้อยละ 5.9 สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปีพบโรคนี้เพียงร้อยละ 0.003

สาเหตุ

โพรงสมอง (ventricle) หมายถึงโพรงที่อยู่ภายในสมอง ภายในโพรงสมองจะมีน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) บรรจุอยู่ น้ำไขสันหลังทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (นำสารภูมิต้านทาน และสารสื่อประสาทไปให้ และนำของเสียไปขับออก) และช่วยดูดซับแรงกระเทือนจากภายนอกเพื่อปกป้องสมองและไขสันหลัง ปกติสมองสร้างน้ำไขสันหลัง ซึ่งจะไหลเวียนในโพรงสมองและไขสันหลัง และถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือดในลักษณะที่สมดุลกัน ทำให้น้ำในโพรงสมองมีไม่มากหรือน้อยเกินไป  แต่หากมีสภาวะที่ทำการไหลเวียนหรือการดูดกลับของน้ำไขสันหลังผิดปกติ ก็จะทำให้น้ำในโพรงสมองเกิดการคั่งมากกว่าปกติ โดยที่ความดันในกะโหลกศีรษะยังเป็นปกติ จึงเรียกว่า “ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ” แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง”

น้ำที่คั่งในโพรงสมอง จะดันให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดแรงกดเบียดเนื้อสมองโดยรอบ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งหากแก้ไขได้เร็ว อาการก็ทุเลาหายไปได้ แต่หากปล่อยให้เนื้อสมองถูกกดเบียดเป็นระยะเวลานาน เซลล์สมองก็จะถูกทำลายอย่างถาวร

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะตรวจไม่พบว่ามีภาวะหรือโรคอื่นใดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา สันนิษฐานว่าเกิดจากการเสื่อมของร่างกายตามวัย

ส่วนภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง สมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีประวัติศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือเคยได้รับการผ่าตัดสมองมาก่อน


อาการ

ผู้ป่วยมีอาการเดินผิดปกติเป็นหลัก อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ สมองเสื่อม พูดน้อย เสียงแหบ หรือสำลักบ่อยร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เป็นมากเรื่อย ๆ ในช่วงเวลา 6-12 เดือน หรือเป็นแรมปี

เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีการเดินที่ผิดปกติ เช่น เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวขาสั้น ๆ ระยะต่อมาจะมีอาการเดินยกเท้าไม่พ้นจากพื้นเหมือนเท้ามีกาวทาติดไว้กับพื้น และเวลาเดินผู้ป่วยจะกางเท้าออก เพื่อรักษาสมดุลไม่ให้ล้ม เมื่อมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการทรงตัวไม่ดี นั่งตัวเอน เดินเซ และล้มบ่อย (ซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้นำตัวผู้ป่วยมาพบแพทย์) อาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจเดินไม่ได้

ต่อมา ผู้ป่วยจะมีอาการข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อดังต่อไปนี้ตามมา

    กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ โดยเริ่มแรกจะมีอาการปัสสาวะบ่อย เวลารู้สึกปวดปัสสาวะจะต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที หากไปไม่ทันก็จะมีปัสสาวะเล็ด เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีอาการปัสสาวะราดโดยไม่รู้ตัว (ผู้ป่วยมักต้องใส่ผ้าอ้อมไว้)
    อาการสมองเสื่อม เช่น ญาติสังเกตเห็นผู้ป่วยมีอาการคิดช้า ทำอะไรช้าลงกว่าเดิมมาก ความจำแย่ลง หลงลืมบ่อย ขาดสมาธิ ตัดสินใจหรือตอบสนองช้า กลางวันมีอาการนั่งหลับ ง่วงซึม หรือนอนมาก บางรายอาจมีอาการสับสน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า (ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส นั่งร้องไห้)
    อาการผิดปกติเกี่ยวการพูดและการกลืน ผู้ป่วยจะพูดน้อย เสียงเบาหรือเสียงแหบ กลืนลำบาก สำลักบ่อยเวลากินอาหารหรือดื่มน้ำ เวลานอนอาจสำลักน้ำลายตัวเอง (ตื่นขึ้นมาไอตอนกลางคืน)


ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยไว้ หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจมีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้   

    กระดูกหักหรือศีรษะได้รับบาดเจ็บจากการหกล้ม ซึ่งอาจมีอันตรายร้ายแรงได้ เช่น กระดูกต้นขาหัก เลือดออกในสมอง เป็นต้น
    ปอดอักเสบจากการสำลัก
    สูญเสียคุณภาพชีวิตเนื่องจากการเดินไม่ได้ และ/หรือภาวะสมองเสื่อม
    อาจนอนติดเตียงและเกิดแผลกดทับ ซึ่งพบได้น้อย ภาวะนี้จะเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจนมีอาการรุนแรง

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบ ดังนี้

มักตรวจพบความผิดปกติเกี่ยวกับการเดินและการทรงตัว เช่น เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวสั้น ๆ ก้าวเท้าไม่พ้นจากพื้น เดินกางเท้าออก เดินเซ นั่งตัวเอน ยืนหรือเดินในท่าโน้มตัวไปข้างหน้า

อาจพบอาการอื่น เช่น ได้กลิ่นปัสสาวะที่ถ่ายราดติดกางเกงหรือผ้าอ้อม คิดช้า พูดช้า พูดน้อย ตอบคำถามช้า ทำอะไรชักช้างุ่มง่าม เสียงแหบ หน้าซึมเศร้า

แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ดังนี้

    ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะพบว่าโพรงสมองของผู้ป่วยโรคนี้มีขนาดใหญ่ผิดปกติ
    ทำการเจาะหลัง (lumbar puncture) นอกจากทำการวัดความดันของน้ำไขสันหลัง (ซึ่งพบว่ามีค่าปกติ) แล้ว แพทย์จะทำการทดลองระบายน้ำไขสันหลัง (tap test) ซึ่งช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา โดยระบายน้ำออกมา 40-60 มิลลิลิตร ถ้าหลังการระบายน้ำ พบว่าผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้นชั่วคราว แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ และจะได้ประโยชน์มากจากการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังตัวระบายน้ำ


การรักษาโดยแพทย์

สำหรับโรคน้ำเกินในสมอง แพทย์จะทำการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ (shunt) ไว้ใต้ผิวหนัง โดยจะฝังสายระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง หรือจากช่องไขสันหลัง (บริเวณหลังส่วนล่าง) เข้าสู่ช่องท้อง (ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย) แล้วน้ำที่ระบายออกมาในช่องท้องก็จะถูกดูดซึมออกไปโดยเยื่อบุช่องท้อง ทำให้ลดการคั่งของน้ำในโพรงสมองลงได้ อาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาลงได้อย่างรวดเร็ว

หลังผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยพักรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการและป้องกันหรือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะอยู่โรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน ก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้

หากพบว่าผู้ป่วยเป็นภาวะน้ำเกินในสมองชนิดทุติยภูมิ แพทย์จะทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ (เช่นเนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมอง) ไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินมาเป็นเวลานาน มีกล้ามเนื้อขาลีบและอ่อนแรง แพทย์ก็จะทำการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยด้วยการทำกายภาพบำบัด (ฝึกยืน ฝึกเดิน) ซึ่งกว่าจะฟื้นตัวได้ดีอาจใช้เวลาฝึกอยู่นานหลายเดือน

ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะได้ผลดี อาการต่าง ๆ จะทุเลาลงได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ เช่น หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น ก้าวเดินได้ดีขึ้น สำลักน้อยลง พูดได้ดีขึ้น เสียงแหบน้อยลง กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น แล้วต่อมาก็จะค่อย ๆ ฟื้นหายเป็นปกติได้

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมก่อนอาการเดินผิดปกติและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือมีอาการสมองเสื่อมที่รุนแรง หรือได้รับการรักษาล่าช้าไปจนเซลล์สมองถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจะไม่ได้ผลดี


การดูแลตนเอง

หากมีอาการเดินผิดปกติ (เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวสั้น ๆ เดินกางเท้าออก เดินเซ) ร่วมกับมีอาการหกล้มบ่อย ปัสสาวะราดบ่อย สำลักบ่อย เสียงแหบเรื้อรัง และ/หรือหลงลืมบ่อย เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์

ถ้าตรวจพบว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ควรรับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 

หลังได้รับการผ่าตัด และกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ควรปฏิบัติตัว ดังนี้

    ดูแลบาดแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ ระวังอย่าให้แผลติดเชื้อ
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกายที่อาจกระทบต่อการทำงานของสายระบายน้ำ
    ทำกายภาพบำบัดจนกว่าจะร่างกายแข็งแรง (ตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด)
    กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีน นม ไข่ ผัก ผลไม้
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    แผลผ่าตัดมีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีหนอง หรือน้ำเหลืองไหล
    มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดท้อง อาเจียน คอแข็ง (ก้มคอไม่ได้) ตาพร่ามัว กระสับกระส่าย ง่วงซึม ชักหรือหมดสติ เป็นต้น
    อาการของภาวะน้ำเกินในโพรงสมองซึ่งทุเลาลงหลังผ่าตัดกลับมากำเริบใหม่ หรือมีอาการผิดปกติที่ทำให้สงสัยว่าสายระบายน้ำทำงานไม่เป็นปกติ และไม่สามารถปรับได้เอง (แพทย์จะสอนผู้ป่วยและญาติให้รู้จักวิธีดูแลสายระบายน้ำ ถ้าลองดูแลเองที่บ้าน เกิดปัญหาและแก้ไขไม่ได้ ก็ควรรีบกลับไปพบแพทย์)
    หากแพทย์ให้ยามากินที่บ้าน หลังกินยามีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา


การป้องกัน

ส่วนใหญ่ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาวะน้ำเกินในสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุ 

สำหรับภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลงได้บ้าง โดยการควบคุมโรคบางชนิด อาทิ

    ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ (เช่น บุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน) ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
    ป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ดูการป้องกัน โรคสมองอักเสบ และ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพิ่มเติม)
    ป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การหกล้ม อุบัติเหตุจราจร

ข้อแนะนำ

1. อาการต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (เช่น เดินช้า เดินเซ ความจำไม่ดี ปัสสาวะราด สำลักบ่อย พูดน้อย พูดเสียงเบา) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยทั่วไป ทำให้ญาติเข้าใจว่าเป็นโรคคนแก่ และมักจะปล่อยให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง โดยจ้างคนมาดูแล หรือพาไปพักอยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และในที่สุดเกิดความพิการอย่างถาวร ดังนั้น หากพบผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์ เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จริง การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายจะช่วยให้อาการดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้


2. ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน (คืออาการเดินช้า เดินก้าวสั้น เดินซอยเท้า เดินขากาง บางรายอาจมีอาการแขนขาเกร็ง หรือมือสั่น) และอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม คิดช้า ทำอะไรช้า) ซึ่งอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาแบบโรคพาร์กินสันหรืออัลไซเมอร์ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้รับการรักษาล่าช้าไป

ดังนั้น หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน หรืออัลไซเมอร์ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองหรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง จะได้รับการรักษาได้ทันการณ์ และช่วยให้หายได้


3. ผู้สูงอายุที่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง อาจมีโรคเรื้อรังอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น ควรทำการรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไป เพราะโรคเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยภาวะน้ำเกินในโพรงสมองเสียชีวิตไวกว่าเวลาอันควรได้

บางรายอาจมีอัลไซเมอร์หรือกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมคล้ายพาร์กินสัน (เช่น การเคลื่อนไหวช้า แขนขาเกร็ง ทรงตัวไม่ได้ มือสั่น) ร่วมด้วย ทำให้มีความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษา ซึ่งหลังการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ ก็ยังจำเป็นต้องใช้ยาควบคุมหรือบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง


4. ผู้สูงอายุที่มีอาการล้มบ่อยจากการเดินผิดปกติ ปอดอักเสบบ่อยจากการสำลัก หรือมีอาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะราด (ซึ่งคิดว่าเป็นต่อมลูกหมากโต) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองหรือไม่


5. ญาติผู้ป่วยควรเรียนรู้ให้เข้าใจถึงธรรมชาติ และแนวทางการรักษาของภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดฝังสายระบาย มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจหรือมีความเชื่อผิด ๆ หรือมีความกลัวว่าจะได้รับอันตรายจากการผ่าตัด ไม่ยอมรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนเกิดความพิการอย่างถาวรและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

10
วัสดุภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผ้ากันไฟ

เมื่อพูดถึง วัสดุภายในที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผ้ากันไฟ โดยเฉพาะในบริบทของโรงงานอุตสาหกรรม เรากำลังหมายถึงวัสดุที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับผ้ากันไฟ ไม่ว่าจะทอรวมกัน ใช้เป็นชั้นเสริม หรือเป็นวัสดุฉนวนเติมภายใน เพื่อยกระดับคุณสมบัติหลัก เช่น การทนความร้อน ความแข็งแรง และประสิทธิภาพการเป็นฉนวน นี่คือวัสดุสำคัญเหล่านั้น:

1. เส้นใยเสริมแรง (Reinforcement Fibers)

วัสดุเหล่านี้มักถูกทอหรือผสมรวมไปกับเส้นใยหลักของผ้า (เช่น ใยแก้ว) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทางกล:

ลวดสเตนเลสสตีล (Stainless Steel Wire/Filament):

ประโยชน์: การทอเส้นลวดสเตนเลสสตีลขนาดเล็กเข้าไปในเนื้อผ้าใยแก้วหรือใยเซรามิก ช่วยเพิ่ม ความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงฉีกขาด ได้อย่างมหาศาล ทำให้ผ้าทนทานต่อการใช้งานหนัก การเสียดสี และแรงกระแทกได้ดีขึ้นมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ผ้าคงรูปและทนต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
การใช้งาน: ผ้ากันสะเก็ดไฟสำหรับงานเชื่อมหนัก, ม่านกันความร้อนอุตสาหกรรม, ฉนวนแบบถอดได้ที่ต้องการความทนทานสูง

เส้นใย Aramid (เช่น Kevlar®):

ประโยชน์: แม้จะไม่ใช่เส้นใยหลักสำหรับงานอุณหภูมิสูงมาก แต่การนำเส้นใย Aramid ซึ่งมี ความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงมาก และทนทานต่อการเสียดสีมาผสมในผ้าบางประเภท (โดยเฉพาะผ้าที่ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือรับแรงทางกล) จะช่วยเพิ่มความทนทานทางกายภาพได้ดี
การใช้งาน: ผ้าที่ต้องการความทนทานต่อการฉีกขาดสูง, ผ้าสำหรับรอยต่อหรือส่วนที่ต้องรับแรง


2. วัสดุฉนวนเติมภายใน (Bulk Insulation/Fillers)

สำหรับผ้ากันไฟที่ทำหน้าที่เป็น ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ (Removable Insulation Jackets) หรือผ้าหุ้มอุปกรณ์ร้อน มักจะมีวัสดุฉนวนหนาๆ บรรจุอยู่ภายใน:

ใยแก้ว (Fiberglass Wool/Blanket):

ประโยชน์: เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อนพื้นฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มี ค่าการนำความร้อนต่ำ และทนอุณหภูมิได้ดี (ประมาณ 550°C - 850°C ขึ้นอยู่กับเกรด) ราคาคุ้มค่า
การใช้งาน: บรรจุเป็นชั้นฉนวนภายในผ้าหุ้มฉนวนสำหรับท่อ, วาล์ว, ปั๊ม, หรือถังเก็บความร้อน

ใยหิน/ใยแร่ (Mineral Wool/Rock Wool/Slag Wool):

ประโยชน์: คล้ายกับใยแก้ว แต่ทนอุณหภูมิได้สูงกว่าเล็กน้อย (มักจะสูงถึง 700°C - 1000°C) มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี และไม่ติดไฟ
การใช้งาน: ฉนวนภายในผ้าหุ้มในงานที่ต้องการอุณหภูมิสูงกว่าใยแก้ว

เซรามิกไฟเบอร์ (Ceramic Fiber / Refractory Ceramic Fiber - RCF):

ประโยชน์: เป็นวัสดุฉนวนที่ ทนอุณหภูมิได้สูงมาก (ตั้งแต่ 1,260°C ไปจนถึง 1,800°C+) มีน้ำหนักเบา และเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีเยี่ยม
การใช้งาน: บรรจุเป็นชั้นฉนวนภายในผ้าหุ้มสำหรับอุปกรณ์ที่มีอุณหภูมิสูงมาก เช่น เตาอบอุตสาหกรรม, ท่อไอน้ำแรงดันสูง, หรือส่วนที่ใกล้กับแหล่งความร้อนสูงโดยตรงในโรงงานปิโตรเคมี

Aero-gel Blankets:

ประโยชน์: เป็นเทคโนโลยีฉนวนขั้นสูงที่มี ประสิทธิภาพการเป็นฉนวนที่เหนือกว่า วัสดุอื่น ๆ อย่างมากในความหนาที่บางกว่า และมีน้ำหนักเบา
การใช้งาน: ใช้ในงานที่พื้นที่จำกัด แต่ต้องการประสิทธิภาพการเป็นฉนวนสูงสุด และสามารถทนอุณหภูมิได้หลากหลาย


3. วัสดุสำหรับชั้นกันความชื้น (Moisture Barrier)

สำหรับฉนวนแบบถอดได้ที่ต้องใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น หรือเพื่อป้องกันการกัดกร่อนใต้ฉนวน (Corrosion Under Insulation - CUI):

ฟิล์ม PTFE (Polytetrafluoroethylene - Teflon®):
ประโยชน์: มีคุณสมบัติ กันน้ำได้ดีเยี่ยม (Hydrophobic), ทนทานต่อสารเคมี และสามารถระบายไอน้ำได้ (breathable) ซึ่งช่วยลดการสะสมความชื้นภายในฉนวน
การใช้งาน: เป็นชั้นบาง ๆ ที่อยู่ระหว่างชั้นนอกสุดและชั้นฉนวนภายใน เพื่อป้องกันความชื้นและน้ำเข้าสู่ชั้นฉนวน

การผสมผสานวัสดุเหล่านี้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผ้ากันไฟไม่เพียงแต่ทนไฟเท่านั้น แต่ยังเป็นฉนวนที่มีประสิทธิภาพสูง ทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย

หน้า: [1] 2 3 ... 146
โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google