ในเรื่องของการรับประทานอาหาร เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเราเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารฟ้าสฟู้ด ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการเจ็บป่วย
หากรับประทานเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมของสารก่อมะเร็งมากมาย จนนำไปสู่การเจ็บป่วยมากมาย โดยโรคที่คนไทยหลายคนกำลังประสบพบเจอ หนีไม่พ้นโรคที่เกิดจากอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล รับประทานบางอย่างมากเกินไป สะสมนานวันเข้า สุดท้ายอาจเป็นโรคได้
โดยเฉพาะโรคไต แต่นอกจากอาหารเค็มแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คนเป็นโรคไต หรือที่กำลังฟอกไตอยู่ควรระวัง ยกตัวอย่างเช่น ฟอสฟอรัส ที่ตัวอันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะนอกจากโซเดียมที่เป็นตัวการสำคัญของโรคไต และความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสอีกตัวที่จะทำให้อาการของโรคไตแย่ลง เพราะเมื่อไตของเรากำลังเสื่อม ก็จะมีความสามารถในการกรองเอาสารอาหารประเภทฟอสฟอรัสออกมาได้น้อยลง นั่นหมายความว่า ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปมากเท่าไร มันก็สะสมอยู่ในร่างกาย ทั้งที่จริงๆ แล้ว คนที่ไตทำงานปกติ ไตจะกรองเอาสารอาหารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายออกให้ ในขณะเดียวกัน ฟอสฟอรัสไม่ยอมออกไปเลย ก็เลยทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง ดังนั้น วันนี้เราจะมาพูดถึง อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของการรับประทานอาหาร
อย่างที่เราเน้นย้ำมาตลอดว่า การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และต้องได้รับพลังงานเพียงพอ โดยในแต่ละมื้อควรมีอาหารหลากหลาย ควรปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ การลดหวาน, ลดมัน, ลดเค็ม เพื่อควบคุมโรคที่มีผลกระทบต่อไต รวมไปถึง ควบคุมปริมาณเนื้อสัตว์ เพราะเนื้อสัตว์มีปริมาณโปรตีนสูง หากรับประทานมากเกิน จะทำให้ปริมาณของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ไตทำงานหนัก ควรเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อปลา เนื่องจากมีไขมันต่ำ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง, ไข่ขาว, เนื้อหมู, เนื้อไก่ไม่ติดหนัง, นมไขมันต่ำ เป็นต้น ต่อมาอาหารประเภท ข้าว หรือแป้ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ เช่น ข้าวเจ้า ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี เป็นต้น รวมไปถึงอาหารประเภทไขมัน แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวทั้งจากพืชและสัตว์ เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม มันหมู รวมถึงไขมันทรานส์ ที่สำคัญควรจำกัดโซเดียมในอาหาร กรณีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการบวม ต้องจำกัดปริมาณโซเดียม นอกจากนี้ น้ำเปล่าเหมาะกับผู้ป่วยโรคไตมาก
ที่สุด หรือหากอยากดื่มน้ำสมุนไพร ต้องไม่หวานจัด หรือหากมีความดันโลหิตสูง หรืออาการบวม ต้องจำกัดน้ำดื่ม ไม่เกิน 700 – 1,000 ซีซีต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตจะลดลง ข้อปฏิบัติอื่นๆ เช่น งดบุหรี่ เหล้า กาแฟ ระวังไม่ให้เกิดท้องผูกด้วยยา เพราะเมื่อขับถ่ายยากมีผลให้ความดันโลหิตขึ้น และยังมีผลทำให้ร่างกายดูดซึมโปแตสเซียมมากขึ้น อีกทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และนอนหลับสนิท ส่วนสารอาหารอื่นๆ อาจต้องมีการปรับและควบคุมตามอาการของโรค
โดยการไปพบแพทย์และตรวจเลือดเป็นระยะๆ เพราะจะเป็นตัวช่วยบอกว่าควรจำกัดสารอาหารใดบ้าง ทั้งหมดนี้ ก็คือ แนวทางในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อาหารเหล่านี้จะรับประทานได้ แต่ก็ไม่ควรรับประทานจนมากเกินไป ควรรักษาสมดุลของอาหารให้ดี และรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเดิมในทุกๆ วัน ทุกๆ มื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ใครที่ต้องรับประทานยาจับฟอสฟอรัส ก็อย่าลืมรับประทานพร้อมอาหารอย่างสม่ำเสมอด้วย ช่วยให้ฟอสฟอรัสไม่สูงได้เป็นอย่างดี ถ้าเราควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดได้
ดังนั้นเราอยากให้ทุกคน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดูแลสุขภาพร่างกาย หันมาใส่ใจในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอทำให้ร่างกายได้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ห่างไกลจากภาวะการเจ็บป่วยได้
บริการด้านอาหาร: อาหารเหมาะสําหรับ คนเป็นโรคไต อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/catering-service/