โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใกล้ตัวกว่าที่คิด

  • 0 ตอบ
  • 1736 อ่าน
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใกล้ตัวกว่าที่คิด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) เป็นหนึ่งในโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในปัจจุบัน ทั้งในปี 2020 GOLD หรือ Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease ยังรายงานว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของโลก และไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือโรคถุงลมโป่งพอง ต่างก็อยู่ในกลุ่มโรคนี้เช่นเดียวกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สาเหตุของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปัจจัยหลักมาจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ เมื่อปอดได้รับสารพิษทำให้การทำงานของปอดผิดปกติ หรือหลอดลมเกิดความเสียหาย หลอดลมอักเสบ และลุกลามไปยังบริเวณถุงลมในปอด ทั้งยังมีเรื่องของพันธุกรรม และการขาดสาร Alpha-1 Antitrypsin ที่ทำให้เกิดการเร่งภาวะถุงลมโป่งพองก่อนวัยอันควร แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม

อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอะไรบ้าง ?

ไอแห้ง
หายใจลำบาก
แน่นหน้าอก
เหนื่อยหอบ เหนื่อยง่าย
ในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย อาจมีเสมหะเยอะ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การซักประวัติ เนื่องจากอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะไม่ได้แสดงอาการแบบเฉพาะเจาะจง การวินิจฉัยจึงต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาระดับความรุนแรงของโรค
การตรวจโดยห้องปฏิบัติการ สามารถตรวจสมรรถภาพปอด หรือใช้วิธี Spirometry ช่วยจำแนกความรุนแรง ประเมินและติดตามระยะของโรคได้
ตรวจโดยการเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray: CXR) เป็นการตรวจปอดด้วยการฉายรังสี เพื่อวินิจฉัยโรคที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึงกัน หรือวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย
ตรวจโดย Computed tomography (CT Scan) เพื่อดูลักษณะการกระจายตัวของถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ

การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

เนื่องจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงของโรค รวมถึงดูแลตัวเองเพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสุด ดังนี้

ทานยาตามแพทย์สั่ง เพื่อลดอาการและป้องกันโรคกำเริบ
งดสูบบุหรี่ เพื่อลดความรุนแรงของโรค
ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของปอด
ในกรณีที่อาการกำเริบเฉียบพลัน มีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สามารถใช้ยาพ่นขยายหลอดลม (Bronchodilators) บรรเทาอาการ ซึ่งช่วยให้หลอดลมขยายและลมออกจากปอดได้มากขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
รักษาโดยการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยแพทย์จะทำการตัดเนื้อปอดที่โดนกดทับเพื่อเพิ่มสมรรถภาพปอด หรือผ่าตัดเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจทำงานได้ดีขึ้น

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google