ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องให้ อาหารสายยาง !

  • 0 ตอบ
  • 1402 อ่าน
ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องให้ อาหารสายยาง !

การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว รวมไปถึงผู้ป่วยติดเตียง ให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยด้วย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้นั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาได้ รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง เพราะฉะนั้นผู้ดูแล ควรดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยมากเป็นพิเศษ

ทั้งเรื่องของสุขภาพและอาหารการกินต่างๆ ควรให้ผู้ป่วยได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ตามความต้องการของร่างกาย โดยต้องให้นักโภชนาการ คำนวณปริมาณสารอาหารให้สมดุลตามหลักทางการแพทย์ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อร่างกาย ผสมเข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เพียงพอและมีพลังงานที่เหมาะสมต่อร่างกาย และอาหารที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับนั้นจะต้องมีความเหมาะสมกับโรคของผู้ป่วยด้วย การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายนั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดสารอาหาร หรือการที่ทำให้ระบบย่อยอาหารหรือระบบขับถ่ายของผู้ป่วยเกิดความผิดปกติ การที่ให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายแล้ว ยังช่วยในการรักษาสมดุลของระบบต่างๆภายในร่างกายอีกด้วย เพราะฉะนั้นการให้อาหารทางสายยาง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากของผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เพราะถ้าหากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา อาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้

สำหรับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารทางสายยางนั้น มักจะเกิดได้บ่อย เพราะการรับประทานอาหารที่ผิดวิธีก็มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หรือระบบการย่อยอาหารตามมา ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ปัญหาสุขภาพอย่างแรกเลยที่มักพบได้บ่อยคือ อาการท้องผูก เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อลำไส้เกิดการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากระบบทางเดินอาหารได้อย่างปกติ จึงเกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจนมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ อุจจาระจึงมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ถ่ายออกได้ลำบาก


ซึ่งโดยปกติการขับถ่าย ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้ลำไส้มีการบีบตัว ช่วยลำเลียงของเสียออกจากร่างกาย แต่ในกลุ่มผู้ป่วยนอนติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง จึงมักมีปัญหาท้องผูกเพราะร่างกายขยับน้อย การได้รับใยอาหารเสริม หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้อาหารท้องผูกนั้น ยังส่งผลให้เกิดการการอุดตันภายในลำไส้ สภาวะบางอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่หรือบริเวณทวารหนักอาจทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวออกจากระบบทางเดินอาหารได้ลำบากหรือติดค้างอยู่ภายในลำไส้ เช่น แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน เพราะฉะนั้นผู้ดูแลควรสังเกตอาการผิดปกติ รวมไปถึงการขับถ่ายของผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะได้นำไปปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อที่จะได้ทำการเปลี่ยนสูตรอาหารหรือปรับเปลี่ยนสัดส่วนของอาหาร

ทั้งยังส่งผลต่อกล้ามเนื้ออีกด้วย เนื่องจากความผิดปกติจากโรคทางด้านระบบประสาทสามารถส่งผลต่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จึงอาจส่งผลให้เกิดการตกค้างของอุจจาระภายในระบบทางเดินอาหารและอาจนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอมเอส โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดในสมอง และยังส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อน้อย เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะขยับร่างกายน้อย จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อน้อยตาม


การได้รับอาหารที่ครบถ้วน โปรตีนเพียงพอต่อร่างกายผู้ป่วย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ควบคู่กับการให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อลดลงรวดเร็วเกินไป ทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วยเวลาที่ผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงนานๆ ควรปรับเปลี่ยนให้ผู้ป่วยเป็นประจำ ถ้าหากผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือสามารถเดินได้ ควรให้ผู้ป่วยได้ลองเดิน เคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อน้อย รวมไปถึงยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายอีกด้วย



 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google