ฉนวนกันเสียง: ประเภทของเสียงที่ทำให้เกิดอันตรายในโรงงาน

  • 0 ตอบ
  • 2949 อ่าน
โรงงานอุตสาหกรรมฟังไว้ เสียงแบบไหนทำให้เสี่ยง “หูตึง”!!

หัวใจสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากเครื่องจักรแล้ว “พนักงาน” หรือบุคลากรคุมเครื่องจักร ถือได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะหากปราศจากซึ่งพวกเขาแล้ว โรงงานอุตสาหกรรมก็คงขับเคลื่อนไปไม่ได้ หรือขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เหมือนกับรถที่ไร้คนขับ อย่างไรเสียก็ไปไม่ถึงจุดหมาย

ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการดูแลบุคลากรคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญ โดยเพราะเรื่องของเสียงรบกวนและเสียงดังที่เกิดขึ้นในโรงงานนั้น นอกจากจะมีผลต่อสภาพจิตใจแล้ว หากได้รับเสียงดังเป็นระยะเวลายาวนั้นต่อเนื่อง อาจส่งผลให้หูตึงหรือสูญเสียการได้ยินได้


เสียงดังในโรงงาน

ลักษณะของเสียงที่สามารถทำให้บุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรมเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หรือ หูตึง นั้น ได้แก่เสียงลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้


เสียงแบบไหนทำให้เสี่ยงหูตึง

1. เสียงที่มีระดับความดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งยิ่งได้รับเสียงดังระดับนี้ยาวนานต่อเนื่องแค่ไหน บ่อยแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้เสี่ยงหูตึงได้มากขึ้นเท่านั้น

2. เสียงแหลม หรือเสียงที่มีความถี่สูง จะเป็นลักษณะของเสียงที่ทำให้เรามีโอกาสสูญเสียการได้ยินมากกว่าเสียงทุ้ม หรือเสียงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งก็เช่นกันคือ หากได้รับเสียงแหลมบ่อยๆ นานๆ ดังๆ ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากขึ้น

3. เสียงปัง!! แบบฉับพลัน ในลักษณะเป็นเสียงกระแทก หรือเสียงระเบิด โดยเสียงดังลักษณะแบบนี้จะสามารถทำลายระบบประสาทการได้ยินของคนเราได้มากกว่าการได้ยินเสียงรบกวนแบบต่อเนื่อง คืออาจทำให้เกิดภาวะหูดับ และหนวกตึงได้เลยในทันที


ลักษณะของเสียงทั้ง 3 ดังกล่าว คือลักษณะของเสียงที่มีโอกาสทำให้บุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม หรือคนที่อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากที่สุด ซึ่งนอกจากเรื่องของลักษณะเสียงแล้ว ยังมีตัวแปรสำคัญ อีก 2 ข้อ ที่จะทำให้ใครคนใดคนหนึ่งเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากขึ้น ซึ่งได้แก่

-    ระยะเวลาในการได้ยินเสียง โดยบุคลากรที่ได้รับเสียงยาวนานกว่า หรือมีชั่วโมงการทำงานที่ต้องอยู่กับมลภาวะทางเสียงนานกว่า จะมีโอกาสเสี่ยงสูญเสียการได้ยินได้มากกว่า
-    ความไวต่อเสียงที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเอง โดยสำหรับคนที่มีประสาทรับเสียงที่ดีกว่า จะรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญได้ง่ายกว่า ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้น เขาก็จะตอบสนองต่อเสียงและได้รับผลกระทบที่มากกว่า และมีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากกว่านั่นเอง


สังเกตอาการอย่างไร ว่ากำลังเสี่ยงภัยหูตึงจากมลภาวะทางเสียง

เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการใช้สำหรับดูแลบุคลากรของตัวเอง สามารถสังเกตอาการผิดปกติของการได้ยินได้ จากสัญญาณเตือนที่เสี่ยงว่าเราอาจหูตึงได้ ดังนี้

-    รู้สึกยากลำบากในการได้ยินกว่าปกติ เช่นปกติคนคุยกันเข้าใจ แต่กลายเป็นฟังอยากขึ้น เข้าใจยากขึ้น
-    มีอาการเสียงดังในหู หรือมักจะเกิดอาการหูอื้อชั่วคราว โดยเฉพาะภายหลังจากการได้ยินเสียงดัง
-    ในระยะใกล้ๆ ที่ปกติเคยคุยกันได้ยิน ไม่สามารถพูดในระดับเสียงปกติได้ แต่ต้องพูดดังกว่าเดิม หรือถึงขั้นอาจต้องตะโกนคุยกัน
-    มีอาการปวดหูบ่อยๆ หูอื้อ หูวิ้ง วิงเวียนศีรษะ มึนงง ในระหว่างหรือหลังจากการได้รับเสียงดังบ่อยๆ

การควบคุมดูแลระดับของเสียงภายในโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ประกอบการต้องจัดตรียม จัดทำ และให้ความใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากร และชุมชนใกล้เคียงไม่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในโรงงาน ทั้งนี้ แนวทางในการควบคุมเสียงของโรงงานอุตสาหกรรมก็สามารถทำได้หลากหลายตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาวาระบบการควบคุมเสียงด้วยวัสดุซับเสียง การสร้างฉากกั้นแหล่งกำเนินเสียงเพื่อลดระดับความดังของเสียง

การวางแผนวางแนวป้องกันบริเวณทางผ่านของเสียง หรือแม้กระทั่งการใช้อุปกรณ์ครอบหูสำหรับตัวบุคลากรที่ต้องทำงานใกล้แหล่งกำเนิดเสียงก็สามารถทำได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรมองข้ามโดดเด็ดขาด เพราะส่งผลต่อความมั่นคงในการดำเนินกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว



ฉนวนกันเสียง: ประเภทของเสียงที่ทำให้เกิดอันตรายในโรงงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google