บริการด้านอาหาร: อาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน

  • 0 ตอบ
  • 1723 อ่าน
บริการด้านอาหาร: อาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน

โรคกระเพาะ​อา​หาร ถือว่าเป็นโรคที่มักจะพบเจอได้บ่อยในวัยทำงาน ที่มักจะไม่ค่อยมีเวลารับประทานอาหาร บางคนกว่าจะได้รับประทานข้าวก็เลยไปอีกมื้อแล้ว หรือวัยรุ่นที่มักจะรับประทานอาหารจุกจิกจนละเลยการรับประทานอาหารหลัก ก็ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้ ซึ่งโรคกระเพาะนั้นมีสาเหตุมาจากกรด​เพราะการที่กรดในกระเพาะมีมากเกินความสมดุลจะทำให้เกิด​โรคกระเพาะอาหาร โรคนี้ไม่ใช่แค่บั่นทอนสุขภาพให้แย่ลงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการทำลายสุขภาพจิตและลดประสิทธิภาพในการทำงานลงเกินกว่าครึ่งด้วยอาการปวดแสบในช่องท้องได้ และเมื่อรู้ว่าอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระเพาะ​นอกจากการพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างตรงจุดแล้ว


การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะได้ โดยอาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรากำลังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระเพาะ มักจะรู้สึกปวดท้องเมื่อท้องว่าง แต่จะไม่ปวดตลอดเวลา เมื่อได้รับประทานอาหารจะทำให้อาการดีขึ้น ซึ่งแตกต่างจากอาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ที่จะปวดท้องหลังอาหาร ไม่ปวดตอนท้องว่าง แต่ถ้าปวดจะปวดตลอดทั้งคืนติดต่อกัน หรืออาการปวดท้องเวลาดึก มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนออกมาเป็นอาหารที่แยกชนิดอย่างชัดเจน ดังนั้น โรคกระเพาะ เป็นเหมือนกับภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตอาการของตนเอง อาจทำให้ได้รับความรุนแรงของโรคและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ตอนที่แล้วเราเคยพูดถึงเรื่องของอาหารบำบัด เพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของอาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ป่วยได้ระมัดระวังเวลาที่จะต้องรับประทานอาหาร เพื่อช่วยบรรเทาและไม่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

โดยการป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้น การรักษาความสะอาดและสุขอนามัยในการรับประทานอาหารเป็นหลักสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ภาวะเครียด สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารก็เป็นเรื่องที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างมาก


เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาจตอบสนองต่ออาหารแต่ละชนิดแตกต่างกัน ผู้ป่วยแต่ละรายจึงควรสังเกตอาการตนเองขณะรับประทานอาหารแต่ละชนิด และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการป่วยแย่ลง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว หรือมีฤทธิ์เป็นกรด และอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารทอด ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ อย่างซอสมะเขือเทศ หรือน้ำมะเขือเทศ นมสด และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนมสดหรือครีม รวมไปถึงพริกและพริกไทย ทั้งในรูปแบบพริกหรือพริกไทยสด พริกป่น พริกไทยป่น หรือซอสพริก นอกจากนี้ อาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หรือเบคอน ก็ไม่ควรรับประทาน ช็อกโกแลต นมช็อกโกแลต และโกโก้ร้อน

 
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างชา หรือกาแฟ เครื่องดื่มอัดแก๊ส อย่างน้ำอัดลม หรือโซดา ชาเขียว ชาดำ หรือกาแฟปราศจากคาเฟอีน และน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้ม รวมถึงต้องงดของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ควรทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ ป้องกันอาการท้องผูก และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก


ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทางเราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญเราจะต้องดูแลตัวเองให้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เราได้มีสุขภาพที่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการรับประทานอาหารก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน 

เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพราะการไม่มีโรคถือเป็นลาภอันประเสริฐ และที่สำคัญที่สุด การใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี หากเรามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารการกินที่มีประโยชน์ ก็ถือว่าช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้ แต่ก็ควรหมั่นออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อให้เราได้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google