ซ่อมบำรุงอาคาร: งานซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต

  • 0 ตอบ
  • 1231 อ่าน
การซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต มีวัสดุหลากหลายให้เลือกใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่ดังกล่าว

1.1 งานพื้นอิพ็อกซี่

การซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต ด้วยวัสดุ Epoxy Rasinเหมาะสำหรับงานซ่อมพื้นโรงงาน หรือพื้นคอนกรีตทั่วไป
- ทาให้ทั่วบริเวณพื้นคอนกรีตหรือที่เปียกชื้นก่อนที่จะใช้อีพ็อกซี่ทับหน้า
- ป้องกันความชื้นชั่วคราวบนพื้นคอนกรีตใหม่และพื้นผิวคอนกรีตที่มีความชื้น
- ทนต่อแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดี, ต้านทานความชื้น,
- ซ่อมคอนกรีตแตกร้าวที่มีขนาดเล็ก ลดแรงดันของความชื้นที่มาจากดิน
- มีสีให้เลือกหลากหลายสี (ตาม Color Chart)


1.2 งานพื้นพียู

การซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต ด้วยวัสดุ Polyurethane เพื่อเมื่อผสมรวมกันทั้งสามส่วนจะได้ "วัสดุเคลือบ พื้นโพลียูรีเทน" ที่มีคุณสมบัติ รับแรงกระแทก การเสียดสี การสัญจร ฟอร์คลิฟท์ และทนทานต่ออุณหภูมิ ร้อนได้ +140˚C และอุณหภูมิเย็นได้ -40˚C นอกจากนี้ ยังสามารถผสม Silver Nano เพื่อใช้เป็นวัสดุเคลือบพื้นผิวคอนกรีตชนิดพิเศษที่มีความสามารถในการ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เพื่อทำเป็น "พื้นป้องกันแบคทีเรีย (Anti-bacterialFloor)" เหมาะสำหรับงานซ่อมพื้นโรงงาน หรือซ่อมคอนกรีตแตกร้าวทั่วไป


1.3 งานพื้นอิพ็อกซี่ต้านไฟฟ้าสถิต

พื้น Anti-Static (Anti-Static Floor) คือการเคลือบพื้นผิวคอนกรีตด้วยพื้น Epoxy ชนิดพิเศษ ค่าการต้านทานไฟฟ้าของพื้น Anti-Static จะอยู่ที่ 106-108 โอห์ม มีคุณสมบัติ ในการต้านทานไฟฟ้าสถิต โดยจะทำหน้าที่นำไฟฟ้า สถิตไหลผ่านลงสู่สายดิน ต้านทานไม่ให้กระแสไฟฟ้าสถิตที่มีอยู่ในร่างกายผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือในสภาพ แวดล้อมการทำงาน ไปทำให้เกิดการจุดระเบิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พื้น Anti-Static ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการติดตั้งหรืองานซ่อมพื้นโรงงาน Electronic, พื้นโรงงานผลิต แผงวงจรไฟฟ้า หรือแม้แต่พื้นโรงงานผลิต พื้นห้องคลีนรูม ที่ควบคุมปริมาณฝุ่น


1.4 งานพื้นอิพ็อกซี่ทนเคมี

การเคลือบพื้นผิวคอนกรีตที่สามารถใช้กับงานเคลือบทนเคมีสูงได้ โดยบริเวณที่นิยมในการเคลือบพื้นผิวคอนกรีตใช้งาน คือ เคลือบแทงค์,พื้น, ผนัง, บ่อบำบัดนํ้าเสีย, บริเวณผสมสารเคมี, บริเวณเติมนํ้ามันกลั่นแบตเตอรี่ และงานซ่อมพื้นโรงงานผลิตสารเคมี โดยใช้ควบคู่กับ เส้นใยไฟเบอร์กลาสหรือวัสดุอื่นๆเพื่อเสริมความทนทานอีกชั้นหนึ่ง


ระบบกันซึม

ระบบกันซึมเป็นระบบป้องกันการรั่วซึมสำหรับบริเวณหลังคาดาดฟ้าและบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารบ้านและโรงงาน โดยระบบกันซึมใช้วัสดุกันซึมประเภทต่างๆติดตั้งบนบริเวณที่ต้องการป้องกันการรั่วซึมในอนาคต หรือซ่อมแซมการรั่วซึมเมื่อเกิดปัญหาการรั่วซึมในปัจจุบัน ระบบกันซึมจะช่วยยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตต่างๆ ลดการแตกร้าวของพื้นคอนกรีตเนื่องจากการหดตัวหรือขยายตัวของคอนกรีตและยังช่วยทำให้อายุการใช้งานทนทานยาวนานกว่าปกติ
สาเหตุของการรั่วซึมเกิดจากหลายสาเหตุเช่นรอยต่อของโครงสร้าง ส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้องทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตทำให้เกิดคอนกรีตแตกร้าว การแตกร้าวของโครงสร้างจากการเจาะยึดวัสดุหรือการเสื่อมสภาพของคอนกรีต

ระบบกันซึม มีวัสดุหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานและลักษณะของพื้นที่

2.1 Crystalize Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมงานแทงค์น้ำ
2.2 Polyurethane Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมชั้นดาดฟ้า สามารถทนน้ำขังได้นานกว่า 10 วัน
2.3 Acrylic Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมงานดาดฟ้าและซ่อมคอนกรีตแตกร้าวตามผนัง
2.4 Ceramic Heat Proof เป็นระบบกันซึมสำหรับหลังคาพร้อมสะท้อนความร้อนและป้องกันการรั่วซึมของผนัง
2.5 Pure Polyurea Waterproof เป็นระบบกันซึมเป็นระบบกันซึมสำหรับดาดฟ้า เป็นระบบกันซึมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน อายุการใช้งาน 20-50 ปีทน UV สามารถใช้ในงานเคลือบแทงค์


งานซ่อมพื้นผิวคอนกรีต

3.1 งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต ด้วยวัสดุ Epoxy Mortar หรือ Cement Repair หรือ Non Shrink Cement

ด้วยวิธีสกัดเท เป็นงานซ่อมโครงสร้างผิวทาง คอนกรีตแตกร้าว ที่เกิดความเสียหายด้วยการสกัดรื้อผิวหน้าดังกล่าวออก แล้วเทแทนด้วยวัสดุ Rapid Strength Cementitious Precision Mortar ที่เป็นปูนเกราท์พิเศษ ผสมเสร็จชนิดไม่หดตัว และให้กำลังรับนํ้าหนักสูง ภายในระยะรวดเร็ว (2-4 ชั่วโมง)


3.2 งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต ด้วยวัสดุ Cement Self Levelling หรือ Cement Polymer

งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต ที่เกิดความเสียหายจากสภาพแวดล้อม และการใช้งาน ทำให้โครงสร้างผิวหน้าเกิดความเสียหายพื้นที่ต้องการ การรับกำลังสูงและรวดเร็ว เช่น พื้นถนน พื้นสะพาน พื้นโรงงาน พื้น สนามบิน เสา ฐานเสา ฐานรองรับคานสะพาน เป็นต้น วัสดุที่ใช้เป็นปูนฉาบดัดแปลงพิเศษชนิดส่วนผสมเดียวที่มีส่วนผสมของ ซีเมนต์โพลีเมอร์ดัดแปลง ไฟเบอร์ ซิลิกาฟูม และ ทราย สามารถรับกำลังอัดได้สูงและยึดเกาะได้ดี สามารถฉาบได้หนาประมาณ 3-5 ซม. ในรอบเดียว เหมาะกับงานซ่อมแซมพื้นผิว ที่ต้องการการรับกำลังอันสูงเป็นพิเศษ


3.3 งานขัดซ่อมผิวคอนกรีตเก่า CrytalFloor

งานขัดซ่อมผิวคอนกรีตเก่าให้ดูเงางาม เพิ่มความแข็งแรงทนทาน ทำความสะอาดง่าย อายุการใช้งานยาวนาน และ ค่าบำรุงรักษาต่ำ ด้วยการขัดคอนกรีต (Polishing Concrete) หรือที่เรียกว่า “พื้น CrystalFloor” เปลี่ยนผิวหน้าคอนกรีตตามปกติให้ แข็ง เรียบ เงา ทั้งแบบย้อมสี และไม่ย้อมสี

ซ่อมบำรุงอาคาร: งานซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google