ออกแบบบ้านชั้นเดียว: บ้านโมเดิร์นยกใต้ถุนสูงกลางป่า

  • 0 ตอบ
  • 2818 อ่าน
สถานที่ที่ชวนให้ดื่มด่ำกับธรรมชาติอันเขียวชอุ่มของป่าฝนแอตแลนติก ภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบใหญ่เขียวขจี พุ่มไม้ นกและสัตว์ป่า แต่ก็ท้าทายด้วยความลาดชัน แอบซ่อนแทรกอยู่อย่างแนบเนียนไปกับทิวป่า ซึ่งก่อนจะมาเป็นบ้านก็มีการศึกษาและตั้งคำถามมากมาย เพื่อให้คน บ้าน และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลที่สุด


บ้านในป่าหลังคามี rooftop garden

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการปรับหลักการออกแบบสมัยใหม่ให้เข้ากับบริบทและภูมิอากาศเขตร้อนของประเทศ สถาปนิกชาวบราซิลก็ได้บุกเบิกแนวทางใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความกลมกลืนกับระบบนิเวศในท้องถิ่นและมีผลกระทบน้อยที่สุด อย่างโครงการนี้ก็เช่นกัน จากการสัมผัสครั้งแรกกับไซต์นี้ ทีมงานก็เกิดคำถามว่าจะสร้างในสถานที่ที่มีภูมิประเทศสูงชันเช่นนี้โดยที่ยังคงรักษาธรรมชาติเดิมไว้ได้อย่างไร? ทำอย่างไรให้ผู้อยู่อาศัยได้รับประสบการณ์ในการมองขึ้นไปและเห็นท้องฟ้าผ่านยอดไม้ทุกวัน นี่เป็นคำถามที่ชี้นำการตัดสินใจในการออกแบบทั้งหมด ก่อนจะออกมาเป็นกลุ่มอาคารที่เหมือน “เป็นดอกไม้สีขาวท่ามกลางธรรมชาติ”


บ้านมีใต้ถุนสไตล์โมเดิร์น

“ส่วนที่ยากที่สุด คือการสร้างบ้านโดยไม่รื้อไม่ถอนต้นไม้ใด ๆ จึงต้องใช้อุปกรณ์พิเศษและรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเข้าไปในป่าโดยไม่สร้างความเสียหาย” นี่คือ จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้าน ที่เป็นเงื่อนไขและต้องความเข้าใจเบื้องต้นว่าสถาปัตยกรรมควรหล่อหลอมให้เข้ากับภูมิประเทศ ไม่ใช่ทำลายและโดดเด่นเกินบริบท ทั้งนี้ทีมงานได้เลือกการบ้านยกขึ้นเหนือพื้นดินมีเสาเป็นตัวรับน้ำหนัก ทำให้สัตว์และพืชเติบโตอยู่ข้างใต้ไม่ได้รับผลกระทบ แถมยังเป็นช่องทางให้อากาศใต้อาคารไหลลื่นสร้างความเย็นสบายให้บ้าน ไม่ต้องกลัวฤดูน้ำหลาก


ตัวบ้านสีขาวสะดุดตาผู้ที่มาถึง และเสาสีดำที่ยกตัวบ้านขึ้นสูงเหนือเหนือความลาดเอียงของพื้นดิน โดยวางแนวแบบสุ่มกลมกลืนกับลำต้นของต้นไม้ ความสูงของเสาทำให้บ้านมีใต้ถุนสูงเหมือนลอยได้ แต่ละส่วนของอาคารมีช่องเปิด รอยพับของแผ่นคอนกรีตที่ทำให้บ้านมีมุมที่ยื่นออกมาและเว้าเข้าไป เพื่อให้เกิดช่องว่างบ้านเข้าถึงมุมมองของยอดไม้ได้ดีขึ้น รูปร่างของบ้านจะกระจายไปตามพื้นที่ว่างระหว่างต้นไม้ ไม่มีการนำต้นไม้ออก ภูมิประเทศไม่เปลี่ยนแปลง ศิลปะและธรรมชาติจึงสอดประสานกันอย่างลงตัว


บ้านโมเดิร์นยกพื้นสูงกลางป่า

องค์ประกอบบ้านยื่นออกมาจากโครงหลังคาเป็นเชิงมุม เป็นส่วนเสริมที่แปลกตาให้กับโครงการ ทำให้มีชีวิตชีวาทั้งภายในและภายนอก หลังคารอบๆ ตัวอาคารถูกปูด้วยพรมหญ้าสีเขียวเป็น rooftop garden ที่ยิ่งช่วยให้การพรางตัวแนบแนียนยิ่งขึ้นดูกลมกลืนไปกับยอดไม้เมื่อมองจากด้านบน จากบนลงล่างและหลังคาถึงฐานราก ทั้งหมดของการออกแบบได้รับแรงผลักดันจากความปรารถนาที่จะผสมผสานเข้ากับบริบทของบ้าน ด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ

บ้านที่กระจายตัวอยู่จะแบ่งออกเป็นปีก ปีกด้านตะวันตกมุ่งหน้าสู่สระว่ายน้ำและดาดฟ้า ขณะที่ปีกด้านตะวันออกรองรับพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่ของบ้าน และขยายต่อเนื่องไปสู่ลานบ้านและระเบียงกว้างๆ ที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับป่า


ที่ศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีชานบ้านปูด้วยไม้เป็นดาดฟ้ากลางแจ้งแยกออกไปยังพื้นที่นั่งเล่นแบบเปิดโล่งไปทางทิศตะวันออก ซึ่งจุดนี้จะต่อเนื่องกับฟังก์ชันใช้งานในอาคารมีห้องครัว เลานจ์ และพื้นที่รับประทานอาหาร โดยกระจกสูงเต็มบานทำให้เห็นวิวทิวทัศน์ในบริเวณใกล้เคียงได้แบบ 360 องศารอบตัว พื้นที่นี้อยู่ในแนวสายตาของสระน้ำโดยตรง และไม่มีผนังจึงดูเหมือนลอยอยู่เหนือภูมิประเทศดูสวยงามราวกับถูกแช่แข็งไว้ในกาลเวลา


นอกจากผนังกระจกที่แต่งแต้มใบหน้าของบ้านจนเต็มบริเวณแล้ว สถาปนิกยังเพิ่มช่องแสง skylight บนหลังคาหลายช่อง กระจกใสเหล่านี้เปิดรับแสงแดดส่องเข้ามาจากด้านบน ลดข้อจำกัดจากการขาดแสงเพราะยอดไม้ที่มีใบค่อนข้างหนาบังทิศทางแสง ซึ่งนอกจากจะให้ความสว่างภายในแล้ว อีกจุดมุ่งหมายหนึ่งคือ เป็นช่องทางให้ให้เจ้าของบ้านสามารถมองขึ้นไปและเห็นวิวยอดไม้ รับบรรยากาศของป่าได้แม้อยู่ในตัวบ้าน ในส่วนโทนสีของวัสดุ นักออกแบบใช้คอนกรีตเปลือยและกระจกเป็นหลักเสริมด้วยงานไม้ คอนกรีตใช้เพื่อให้โครงสร้างมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม  กระจกโปร่งใสนำวิวผืนป่าเข้ามาสู่ในบ้าน ไม้ทำหร้าที่เพิ่มความรู้สึกกอบอุ่น


ถัดไปจากโถงทางเดินจะไปยังห้องนอนรองและห้องชุดหลักขนาดใหญ่ ที่มีตู้เสื้อผ้าแบบวอล์กอิน ปริมาตรทรงลูกบาศก์ของห้องชุดหลักที่เป็นกล่องกระจกฉายออกไปในป่ามีทัศนียภาพรอบด้านของสภาพแวดล้อมที่เขียวขจีผ่านช่องกระจกขนาดใหญ่ที่สะท้อนภาพต้นไม้ท้องฟ้า ซึ่งใช้ในโครงการ Casa de Vidro หรือชื่อเป็นที่รู้จักว่า “Glass House” อาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์นที่สร้างในป่าดิบชื้นช่วงปี 1950-1951 ออกแบบโดย Lina Bo Bardi สถาปนิกที่มีชื่อเสียงชาวบราซิล


สำหรับบ้านที่สร้างในพื้นที่ธรรมชาติ สถาปนิกจะระมัดระวังการตัดต้นไม้ที่มีอยู่เดิม โดยการออกแบบตัวอาคารให้เลี่ยงหรืออ้อมแนวต้นไม้นั้น รูปร่างบ้านจึงอาจจะแปลกตาไม่เหมือนบ้านโดยทั่วไป และมักจะไม่ทำระบบฐานรากของอาคารที่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าพื้นผิวดิน โดยการใช้เสาขนาดเหล็กแต่กระจายตัวเป็นตัวช่วยในการรองรับแทน ซึ่งจะมีข้อดีทั้งในแง่การรักษาสภาพภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม และยังได้ประโยชน์จากการยกตัวบ้านขึ้น ให้อากาศไหลผ่านลดความชื้นข้างใต้ ทำให้บ้านเย็นแล้วยังสร้างระดับบ้านที่เท่ากันได้แม้พื้นข้างใต้อาจจะลาดเอียงต่างระดับ


ออกแบบบ้านชั้นเดียว: บ้านโมเดิร์นยกใต้ถุนสูงกลางป่า อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google