กระชายมหิดล: กระชายขาว สมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกัน

  • 0 ตอบ
  • 3302 อ่าน
“ กระชายขาว ” หรือ กระชาย เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน และนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เสริมสรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

ในเดือนมิถุนายน 2563 ทีมวิจัยของจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระชายขาว พบว่า ในกระชายขาว มีสารอยู่ 2 ตัว ที่มีฤทธิ์ต้านโควิด-19 สูงมาก โดยทีมวิจัยค้นพบว่ามีสารสกัดจากกระชายขาวที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ โดยสารสำคัญทั้ง 2 ตัวที่อยู่ในกระชายขาว คือ

– Pandulatin A ( แพนดูราทินเอ )
– Pinostrobin ( พิโนสโตรบิน )

ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดทั้งสองตัวนี้ในกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้ โดยสารทั้งสองตัวนี้สามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อจาก 100% ได้ถึง 0% เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้ถึง 100% อีกด้วย

รับประทานกระชายขาวอย่างไร ? ถึงจะช่วยป้องกันโควิด-19

สืบเนื่องจากข้อมูลงานวิจัยข้างต้น หากจะใช้กระชายขาวเพื่อต้านโรคโควิด-19 ให้ได้ผลตามการวิจัยจึงควรจะต้องใช้ในรูปแบบของ “สารสกัดจากกระชาย” เพื่อกำหนดปริมาณสารสำคัญที่จะออกฤทธิ์ได้แน่นอน และสามารถควบคุมปริมาณในการรับประทานให้เหมาะสม ทำให้ไม่ต้องรับประทานมากเกินไป ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยในสัตว์ และในคนตามลำดับ
ในสถานการณ์ปัจจุบันมีความสนใจนำกระชายมาใช้เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อป้องกันโควิด-19 กันอย่างแพร่หลาย จึงขอฝากคำแนะนำในการรับประทานกระชายอย่างเหมาะสม ดังนี้

– น้ำกระชายที่ดี ควรต้มเป็นน้ำดื่มจะดีกว่าปั่น หรือ คั้นสด
– กระชายปั่น ไม่ควรดื่มมากเกินไป( ดื่มวันละไม่เกิน 1 แก้วเป๊ก )โดยผสมน้ำผึ้ง มะนาว
– กระชาย ไม่ควรดื่มติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานๆ (ดื่ม 5 วัน แล้วหยุด 2-3)
– หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายขาวสกัดชนิดเม็ดแทน

ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานกระชายขาว
1. ไม่ควรรับประทานกระชายดิบ ปั่นหรือคั้นสด เพราะถึงแม้กระชายจะมีสารต้านโควิด-19 แต่อาจจะมีสารบางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายได้ การนำมาต้มจึงเป็นการช่วยทำลายสารพิษบางชนิดที่มีในกระชายได้ระดับนึง

2. มีการศึกษาวิจัยพบว่า กระชายจะออกฤทธิ์ได้ดี จากสารสกัด ดังนั้น การนำกระชายมาต้มน้ำดื่ม จึงการสกัดอย่างง่ายอีกวิธีนึง (แต่จะยังไม่ได้สารสำคัญเทียบเท่าการสกัดในการวิจัย)

ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานกระชายขาว
1. ไม่แนะนำในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
2. เนื่องจากมีความเป็นสมุนไพร จึงควรระวังและควรปรึกษาแพทย์ในผู้ที่ตับอักเสบมาก คือ มีค่าการทำงานของตับ เอนไซม์ SGOT SGPT มากกว่า 40 IU
3. ควรระวัง และควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือด และผู้ที่มีโรคเกล็ดเลือดต่ำ




กระชายมหิดล: กระชายขาว สมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google